คุณไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าเองเพื่อเปิดร้านออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ การทำสินค้า Private Label จะเปิดโอกาสให้คุณสามารถทำงานร่วมกับผู้ผลิตโดยตรง เพื่อพัฒนาสินค้าที่ตรงกับข้อกำหนดของแบรนด์คุณ และสินค้าเหล่านี้สามารถจัดส่งไปยังศูนย์จัดการคำสั่งซื้อ โกดัง หรือส่งไปยังลูกค้าของคุณโดยตรงได้เลย
สินค้า Private Label เหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการขยายรายการสินค้าให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเดิม ที่อยากสร้างแบรนด์ใหม่ด้วยสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ หรือสร้างรายได้แบบพาสซีฟ
และในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสินค้า Private Label ที่ทำกำไรได้ปังที่สุด และวิธีเริ่มต้นแบรนด์ Private Label ของคุณเอง
สินค้า Private Label คืออะไร?
สินค้า Private Label คือสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายที่สาม แต่ขายภายใต้ชื่อแบรนด์ของคุณ ภายใต้โมเดลธุรกิจนี้ คุณจะได้ควบคุมทุกแง่มุมของสินค้า ตั้งแต่ข้อกำหนดและวัสดุ ไปจนถึงการออกแบบและการทำบรรจุภัณฑ์เลยทีเดียว
40+ ไอเดียสินค้า Private Label และผู้ผลิต
การทำงานร่วมกับผู้ผลิตสินค้า Private Label จะเปิดโอกาสให้คุณเข้าถึงสินค้ามากมายที่สามารถเป็นทางเลือกของคุณได้ แต่เพราะการที่มีตัวเลือกมากมายนี้เอง การหาสินค้าจากซัพพลายเออร์ดรอปชิป Private Label ที่เชื่อถือได้จึงอาจเป็นเรื่องท้าทาย
เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นได้ เรามาดูหมวดหมู่สินค้า Private Label ที่ได้รับความนิยม พร้อมด้วยไอเดียสินค้าต่าง ๆ ที่ได้รับการค้นหามากที่สุดตามปริมาณการค้นหาต่อเดือน (Monthly Search Volume หรือ MSV) และผู้ผลิตสินค้า White-Label ที่น่าสนใจกันก่อนเลย
เสื้อผ้าและเครื่องประดับ Private Label
เสื้อผ้าเป็นหมวดหมู่ที่เหมาะสำหรับการทำ Private Label คุณสามารถปรับแต่งการออกแบบได้ง่าย ๆ เสนอสีและวัสดุที่แตกต่างกัน และสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ที่ไม่เหมือนใคร
ก่อนเลือกสินค้า ควรพิจารณาว่าผู้ซื้อกำลังค้นหาอะไรอยู่ นี่คือลิสต์คำค้นหาเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมพร้อมปริมาณการค้นหาต่อเดือน (MSV)
- กระเป๋าเป้ (1,220,000 MSV)
- กางเกงยีนส์ผู้หญิง (368,000 MSV)
- ชุดเดรสสำหรับหญิงตั้งครรภ์ (368,000 MSV)
- รองเท้าหนังสำหรับผู้ชาย (201,000 MSV)
- รองเท้าบูทเดินป่าผู้หญิง (165,000 MSV)
- เสื้อกล้ามผู้หญิง (135,000 MSV)
- กางเกงโยคะผู้หญิง (49,500 MSV)
- กางเกงขาสั้นออกกำลังกายสำหรับผู้ชาย (9,900 MSV)
สามผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ที่สามารถเชื่อมต่อกับร้าน Shopify ของคุณ มีดังนี้
AOP+
มีให้บริการใน: สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
AOP+ เชี่ยวชาญสินค้าแบบพิมพ์ตามสั่งและออร์แกนิก ซึ่งประกอบด้วยเสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน, และเครื่องประดับ เนื่องจากพวกเขาจัดการการผลิตเอง คุณจึงสามารถสร้างเสื้อยืด รองเท้าแตะ กระเป๋าผ้า และป้ายติดผนังที่คุณอกอแบบเองได้เลย

แอป AOP+ เชื่อมต่อกับร้าน Shopify ของคุณเพื่อดำเนินการคำสั่งซื้อและจัดส่งโดยอัตโนมัติ
Apliiq
ตั้งอยู่ที่: ลอสแอนเจลิส
Apliiq เป็นอีกหนึ่งซัพพลายเออร์สินค้า Private Label และบริษัทพิมพ์ตามสั่ง ซึ่งโฟกัสไปที่สินค้าในกระแส เช่น เสื้อผ้าติดป้ายทอ เสื้อยืดมีกระเป๋า เสื้อฮู้ดบุผ้าด้านใน และหมวกบีนนี่แบบติดป้าย

Apliiq มุ่งมั่นที่จะจัดส่งคำสั่งซื้อทั้งหมดภายใน 1 สัปดาห์ แอป Shopify ของพวกเขามีระบบประมวลผลคำสั่งซื้ออัตโนมัติและการอัปเดตการติดตามคำสั่งซื้อให้กับลูกค้า
Modalyst
มือโปร: เสื้อผ้ากีฬาในสหรัฐอเมริกา
เมื่อสมัครใช้แผน Pro ของ Modalyst คุณจะสามารถขายสินค้าได้ไม่จำกัด รวมถึงใช้บริการบรรจุภัณฑ์และการสร้างแบรนด์แบบกำหนดเอง และได้รับการจัดส่งที่รวดเร็ว ซึ่งโดยปกติแล้วการจัดส่งภายใน 3-8 วันสำหรับคำสั่งซื้อในสหรัฐฯ และภายใน 15 วันทำการสำหรับการจัดส่งระหว่างประเทศ

Modalyst มีการประมวลผลคำสั่งซื้อและการจัดส่งอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีบริการแชทสดสำหรับช่วยเหลือผู้ขาย ไม่ต่างจากแอปของผู้ผลิตสินค้า Private Label เจ้าอื่นๆ
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม Private Label
ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและเครื่องสำอางได้รับความสำเร็จอย่างมากในโมเดลธุรกิจ Private Label และนี่คือลิสต์คำค้นที่มีปริมาณการค้นหาสูงสุด ซึ่งจะบ่งบอกถึงสิ่งที่ว่าที่ลูกค้ามีแนวโน้มจะค้นหา
- แชมพู (673,000 MSV)
- กรดไฮยาลูโรนิก (550,000 MSV)
- ครีมกันแดด (550,000 MSV)
- มอยส์เจอไรเซอร์ (450,000 MSV)
- สเปรย์จัดแต่งทรงผม (368,000 MSV)
- ครีมนวดผม (246,000 MSV)
- ดรายแชมพู (165,000 MSV)
- น้ำมันและเซรั่มสำหรับผม (110,000 MSV)
- ครีมสำหรับรอบดวงตา (110,000 MSV)
- ที่แว็กซ์ขน (74,000 MSV)
- มูส (74,000 MSV)
- เจลแต่งผม (60,500 MSV)
- โทนเนอร์ผลัดเซลล์ผิว (18,100 MSV)
- สบู่ล้างหน้าจากธรรมชาติ (6,600 MSV)
- ครีมจับลอนผม (1,000 MSV)
- น้ำมัน CBD สำหรับใบหน้า (920 MSV)
- ครีมโพลีเปปไทด์ (590 MSV)
ลองดูผู้ผลิตรายนี้ถ้าคุณต้องการสร้างแบรนด์ Private Label สำหรับเครื่องสำอาง
Thomasnet
ไดเรกทอรีผู้จัดหาจากอเมริกาเหนือ
Thomasnet จะเชื่อมต่อคุณกับซัพพลายเออร์มากกว่า 500,000 รายที่เสนอสินค้ากว่า 6 ล้านรายการ

ในการค้นหาผู้ผลิตในกลุ่มความงามบนแพลตฟอร์มนี้ ให้เริ่มต้นด้วยการค้นหาคำว่า “private-label manufacturing” หรือ “contract manufacturing” ในแถบค้นหา เมื่อคุณเข้าสู่หน้าผลลัพธ์แล้ว คุณสามารถเรียกดูผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญในสินค้าเครื่องสำอาง สกินแคร์ อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ CBD ได้ ในแต่ละโปรไฟล์ของผู้ผลิตจะมีข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับความสามารถในการผลิต ใบรับรองคุณภาพ และข้อมูลติดต่อ นอกจากนี้ คุณยังสามารถขอใบเสนอราคาผ่านแพลตฟอร์มได้โดยตรง
อาหารและอาหารเสริมแบรนด์ส่วนตัว
อาหารและอาหารเสริม Private Label กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นสามารถแข่งขันกับแบรนด์ในเชนซูเปอร์มาเก็ตระดับประเทศได้แล้ว สินค้าในกลุ่มนี้ที่กำลังเป็นที่นิยมประกอบด้วย
- เค้กและพาย (2,700,000 MSV)
- พาสต้า (1,500,000 MSV)
- ขนมหวานและช็อกโกแลต (1,200,000 MSV)
- โปรไบโอติก (673,000 MSV)
- ซุป (550,000 MSV)
- ไนอะซินาไมด์ (550,000 MSV)
- วิตามินบี (368,000 MSV)
- เครื่องปรุง (165,000 MSV)
- ผลิตภัณฑ์ไม่มีกลูเตน (135,000 MSV)
- อาหารเช้า (110,000 MSV)
- กรดไขมันโอเมกา-3 (90,500 MSV)
- อาหารออร์แกนิก (60,500 MSV)
- Tri-Mag (22,200 MSV)
- สินค้าจากแฟร์เทรด (12,100 MSV)
- วิตามิน D3 แบบน้ำ (3,600 MSV)
- สังกะสีผสมเอลเดอร์เบอร์รี่ (1,600 MSV)
- CBD (1,600 MSV)
- ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของนม (1,000 MSV)
- ADK (480 MSV)
- สเปรย์เมลาโทนินแบบลิโพโซม (390 MSV)
Dripshipper
บริษัทรับทำแบรนด์กาแฟ Private Label จากสหรัฐอเมริกา
Dripshipper นำเสนอโซลูชันแบบครบวงจรสำหรับการขายกาแฟออนไลน์ด้วยผู้ผลิตสินค้า Private Label ที่เชื่อมต่อกับร้าน Shopify ของคุณ คุณสามารถสร้างและปรับแต่งบรรจุภัณฑ์กาแฟ โลโก้ ราคา และฉลากภายใต้แบรนด์ของคุณเองได้อย่างอิสระ

Dripshipper ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา แต่มีบริการจัดส่งทั่วโลกโดยที่ยังคงมาตรฐานความสดใหม่ของกาแฟได้อย่างยอดเยี่ยม กาแฟเมล็ดจะถูกจัดส่งในวันเดียวกับที่คั่ว ส่วนกาแฟบดจะจัดส่งในวันถัดไป ทุกคำสั่งซื้อจะถูกดำเนินการภายใน 5 วันทำการ
แพลตฟอร์มมีแผนรายเดือนหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการทางธุรกิจของคุณ โดยแผน Elite จะรวมถึงการเข้าถึงทีมออกแบบภายในของ Dripshipper พร้อมบริการโค้ชชิ่งและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้คุณสร้างและขยายแบรนด์กาแฟของตัวเองได้อย่างมั่นใจ
ข้อดีของสินค้า Private Label
โมเดลธุรกิจแบบ Private Label กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมอบข้อได้เปรียบสำคัญหลายประการให้กับเจ้าของร้านค้าออนไลน์ ดังนี้
มีกำไรสูงกว่า
เมื่อคุณติดต่อโดยตรงกับผู้ผลิต คุณก็จะสามารถตัดคนกลางและกำหนดราคาขายเองได้ ส่งผลให้มีกำไรต่อหน่วยสูงกว่าการขายสินค้าจากแบรนด์ทั่วไป ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับร้านค้าที่ต้องการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว
ควบคุมแบรนด์ได้เต็มที่
คุณสามารถควบคุมทุกแง่มุมของสินค้าได้ ตั้งแต่ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงสเปกของสินค้า เพื่อสร้างประสบการณ์แบรนด์ที่สอดคล้องและแตกต่างจากคู่แข่ง
ปรับตัวเข้ากับตลาดได้ไว
สามารถตอบสนองต่อเทรนด์ได้เร็วกว่าบริษัทแบรนด์ใหญ่ เพราะคุณทำงานใกล้ชิดกับผู้ผลิต จึงสามารถเปิดตัวสินค้าใหม่หรือปรับปรุงสินค้าเดิมได้อย่างรวดเร็วตามคำติชมของลูกค้า
สร้างความภักดีในลูกค้าได้มากขึ้น
สินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า เพราะถ้าพวกเขาหาสินค้านั้นได้เฉพาะจากร้านของคุณ ก็มีแนวโน้มที่จะกลับมาซื้อซ้ำและแนะนำแบรนด์ของคุณให้คนอื่นรู้จัก
มีการแข่งขันน้อยกว่า
สินค้า Private Label โดยเฉพาะในตลาดเฉพาะกลุ่ม มักมีคู่แข่งตรงน้อยกว่าสินค้าแบรนด์ทั่วไป ความเฉพาะตัวนี้ช่วยให้ร้านของคุณกลายเป็นจุดหมายของลูกค้าที่กำลังมองหาสินค้าแบบไม่เหมือนใคร
ข้อพึงระวังทางกฎหมายสำหรับสินค้า Private Label
ก่อนที่คุณจะเปิดตัวแบรนด์ Private Label ของตัวเอง อย่าลืมทำความเข้าใจข้อกำหนดทางกฎหมายที่สำคัญเหล่านี้
การปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมสินค้า
สินค้าประเภทต่างๆ จะมีข้อกำหนดเฉพาะ เช่น
- เครื่องสำอางต้องแสดงส่วนผสมครบถ้วน
- อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีใบรับรองความปลอดภัย
- อาหารต้องผ่านมาตรฐาน FDA (หรือหน่วยงานของประเทศที่คุณขาย)
- ประเทศต่าง ๆ มีข้อบังคับที่ไม่เหมือนกัน
คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า สินค้าของคุณปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและกฎหมายอย่างครบถ้วน
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ปกป้องแบรนด์ของคุณด้วยวิธีดังนี้
- ตรวจสอบชื่อแบรนด์และโลโก้ก่อนใช้งาน
- จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าของคุณไม่ละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่น
- บันทึกองค์ประกอบสร้างสรรค์ของคุณให้เป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบต่อสินค้า
ในฐานะเจ้าของแบรนด์ คุณต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของสินค้า คุณสามารถปกป้องธุรกิจของคุณได้ดังนี้
- มีประกันภัยความรับผิดชอบต่อสินค้า
- มีระบบควบคุมคุณภาพที่ชัดเจน
- มีการทดสอบความปลอดภัยที่ผ่านการรับรอง
- มีแผนรับมือกรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด
ฉลากสินค้าต้องถูกต้อง
ฉลากสินค้าควรมี
- รายการส่วนผสมครบถ้วน
- วิธีการใช้งานที่ชัดเจน
- ประเทศที่ผลิต
- คำเตือนด้านความปลอดภัย (ถ้ามี)
- ข้อความเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้าอย่างถูกต้อง
การโฆษณาเกินจริง ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมายและทำลายชื่อเสียงแบรนด์ได้
ข้อตกลงกับซัพพลายเออร์
ข้อตกลงกับซัพพลายเออร์ไม่ใช่แค่ใบสั่งซื้อ แต่เป็นสัญญาทางกฎหมายที่ควรกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เช่น
- ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
- มาตรฐานคุณภาพ
- ข้อตกลงเรื่องความลับทางธุรกิจ
- สเปกการผลิต
- ข้อกำหนดด้านการจัดส่ง
- วิธีการแก้ไขปัญหากรณีมีข้อพิพาท
ขอแนะนำให้ปรึกษาทนาย เพื่อร่างสัญญาที่ปกป้องผลประโยชน์ของคุณได้อย่างครอบคลุม
ธุรกิจสินค้า Private Label ทำงานอย่างไร
ธุรกิจสินค้า Private Label ที่ประสบความสำเร็จมักมี 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ มีเอกลักษณ์แบรนด์ที่ชัดเจน มีระบบการสั่งซื้อออนไลน์ที่ลื่นไหล และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับซัพพลายเออร์
หลังจากศึกษาตลาดเป้าหมายอย่างละเอียด ร้านค้าจะเริ่มสร้างแบรนด์และช่องทางการขายเพื่อเข้าถึงลูกค้า จากนั้นจึงทำงานร่วมกับผู้ผลิตสินค้า Private Label เพื่อพัฒนาสินค้าที่ร้านสามารถสั่งซื้อ โปรโมต และขายต่อเพื่อทำกำไร
ร้านค้าส่วนใหญ่ที่ทำ Private Label จะเน้นขายในตลาดเฉพาะกลุ่ม ที่พวกเขาเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เช่น เสื้อผ้าและเครื่องสำอาง รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์ใหญ่ก็ทำ Private Label เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Target มีแบรนด์ Archer Farms, Walmart มี Great Value และ Costco มี Kirkland Signature
ทุกวันนี้ สินค้า Private Label เติบโตทั้งในกลุ่มแบรนด์ระดับประเทศและธุรกิจขนาดเล็ก โดยแบรนด์ของร้านเองกลายเป็นสัดส่วนรายได้ที่สำคัญของร้านค้าหลายแห่ง
ข้อดีของการขายสินค้า Private Label
นอกจากการไม่ต้องผลิตเองแล้ว โมเดลนี้ยังให้ข้อได้เปรียบหลายด้าน ดังนี้
ควบคุมการผลิตได้: ในฐานะเจ้าของร้าน คุณจะทำงานโดยตรงกับผู้ผลิตเพื่อเลือกวัตถุดิบหรือส่วนผสม พร้อมทั้งตัดสินใจในเรื่องคุณภาพสินค้า อัตราการผลิต และต้นทุนได้ด้วยตัวเอง
ควบคุมการตั้งราคาได้: เมื่อรู้ต้นทุนการผลิตสำหรับสินค้า Private Label หรือ White Label ของคุณแล้ว คุณก็สามารถวางกลยุทธ์การตั้งราคาได้เอง และใช้พลังของแบรนด์เพื่อสร้างกำไรตามที่ตั้งเป้าไว้ ความยืดหยุ่นนี้ช่วยให้คุณปรับตัวตามสภาพตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับตัวไว: ร้านค้าขนาดเล็กที่ขายสินค้าแบบ Private Label สามารถขยับตัวตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว คุณจึงสามารถทำงานร่วมกับผู้ผลิตเพื่อเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับสินค้า หรือปรับแต่งสินค้าได้ตามต้องการ ซึ่งกลายเป็นโอกาสให้คุณแย่งส่วนแบ่งตลาดได้ เพราะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการผลิตเองมักปรับตัวช้ากว่า
ควบคุมภาพลักษณ์และการตลาดได้: การขายสินค้าแบบ Private Label ช่วยให้คุณควบคุมได้ทั้งหมดในเรื่องของแบรนด์และการตลาด ไม่ว่าจะเป็นวิธีนำเสนอสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย หรือการจัดวางสินค้าภายในแคตตาล็อกของร้าน
ข้อเสียของการขายสินค้า Private Label
แม้จะมีข้อดีมากมาย แต่การทำ Private Label ก็มีความท้าทายเช่นกัน ดังนี้
สร้างความภักดีจากศูนย์เป็นเรื่องยาก: สำหรับแบรนด์ใหม่ การสร้างฐานลูกค้าหรือผู้ติดตามต้องใช้เวลา โดยเฉพาะร้านค้าที่ขายสินค้าแบบ Private Label ซึ่งไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบและพัฒนาสินค้า
เมื่อไม่มีเนื้อหาเบื้องหลังเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ คุณจะต้องใช้วิธีที่สร้างสรรค์ในการสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
ต้องพึ่งซัพพลายเออร์: เนื่องจากการผลิตสินค้าแบบ Private Label ต้องพึ่งพาผู้ผลิตภายนอกอย่างเต็มที่ ธุรกิจของคุณจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของพวกเขาเป็นหลัก ปัญหาเกี่ยวกับซัพพลายเชน ราคาที่เพิ่มขึ้น หรือคุณภาพที่ไม่คงที่ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมาก และในหลายกรณีก็อาจไม่มีทางแก้ที่ชัดเจน
ดังนั้น การเลือกผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคุณภาพและบริการอาจแตกต่างกันมากในแต่ละเจ้า
วิธีเริ่มต้นแบรนด์สินค้า Private Label
การทำสินค้า Private Label ช่วยให้กระบวนการพัฒนาสินค้าสะดวกขึ้น ทำให้คุณสามารถมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ร้านค้าทำได้ดีที่สุด ซึ่งก็ได้แก่ การสร้างแบรนด์ การตลาดสินค้า และการเชื่อมต่อกับลูกค้า
หลังจากเลือกสินค้าของคุณและผู้ผลิตแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อเปิดแบรนด์สินค้า Private Label ของคุณ
1. ทดสอบสินค้าอย่างละเอียด
ก่อนที่จะลงขายสินค้าบนร้านค้า อย่าลืมทดสอบสินค้าก่อน แม้ว่าสินค้าจะดูดีในแคตตาล็อกของผู้ผลิตหรือในโชว์รูม แต่สินค้าจริงอาจมีความแตกต่างอย่างมาก สั่งตัวอย่างสินค้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด เหมือนกับที่คุณจะลองเสื้อผ้าก่อนซื้อ ดังนั้น การทดสอบสินค้าช่วยให้มั่นใจได้ว่า สินค้าจะตรงตามมาตรฐานของคุณและสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้
2. สร้างร้านค้าออนไลน์ของคุณ
สร้างร้านค้าออนไลน์บน Shopify โดยเริ่มจากการทดลองใช้ฟรีและเลือกธีมเว็บไซต์ที่ดูมืออาชีพ จากนั้นขยายการเข้าถึงของคุณด้วยการตั้งช่องทางการขายบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Instagram และ TikTok
ไปที่ Shopify App Store เพื่อค้นหาเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการธุรกิจ Private Label ของคุณ หลายแอปของผู้ผลิตสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับร้านของคุณเพื่ออัตโนมัติการจัดการการจัดส่งและสินค้าคงคลัง
3. เพิ่มสินค้าของคุณอย่างมีกลยุทธ์

ระบบหลังบ้านของ Shopify ทำให้การเพิ่มสินค้าลงในร้านค้าออนไลน์ของคุณง่ายดาย ลองทำตามแนวทางคอนเทนต์การตลาดต่อไปนี้ เวลาที่คุณจะเพิ่มสินค้า
- เขียนคำอธิบายผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ: เน้นที่ประโยชน์ของสินค้าที่ลูกค้าจะได้รับ มากกว่าการพูดถึงแค่คุณสมบัติของสินค้า แม้ว่ารายละเอียดทางเทคนิคจะสำคัญ แต่ลูกค้าต้องการรู้ว่าสินค้าจะช่วยพัฒนาชีวิตของพวกเขาได้อย่างไร
- ใช้ภาพผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง: ลูกค้าที่ซื้อของออนไลน์จะพึ่งพาภาพถ่ายเป็นหลักในการประเมินสินค้า ลองนึกถึงภาพถ่ายที่คุณต้องการเห็นเพื่อทำการตัดสินใจซื้อโดยที่ไม่ได้เห็นสินค้าจริงๆ ผู้ผลิตหลายรายสามารถจัดหาภาพถ่ายสินค้าคุณภาพสูงให้กับคุณได้
- พัฒนากลยุทธ์การตั้งราคาที่สมดุล: ราคาของคุณควรสร้างความสามารถในการทำกำไร แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถแข่งขันได้ในตลาดเป้าหมายของคุณด้วย
4. ทำการตลาดร้านค้าของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อร้านค้าของคุณพร้อมแล้ว ให้มุ่งเน้นไปที่การสร้างการรับรู้และเพิ่มการเข้าชม เริ่มต้นด้วยการโฆษณาผ่าน Google, Facebook, และ Instagram เพื่อโปรโมตแบรนด์ของคุณ และศึกษากลยุทธ์ของคู่แข่ง
เมื่อการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเติบโตขึ้น ให้ขยายการตลาดด้วยวิธีต่อไปนี้
- แคมเปญการตลาดทางอีเมล
- เนื้อหาบนโซเชียลมีเดีย
- การปรับแต่งเว็บให้ติดอันดับบนเครื่องมือค้นหา (SEO)
- โปรแกรมสร้างความภักดีของลูกค้า
เปิดตัวแบรนด์สินค้า Private Label ของคุณ
การเริ่มต้นแบรนด์สินค้า Private Label ช่วยให้กระบวนการพัฒนาสินค้าง่ายขึ้น ซึ่งมักเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับผู้ประกอบการ สร้างร้านค้าออนไลน์ของคุณ สร้างกลุ่มลูกค้า จากนั้นทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเพื่อออกแบบสินค้าที่ไม่เหมือนใครและลูกค้าของคุณจะรัก
คุณพร้อมที่จะเริ่มธุรกิจของคุณแล้วหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาสร้างเว็บไซต์ของคุณวันนี้ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือของ Shopify สำหรับการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้เลย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสินค้า Private Label
สินค้า Private Label ทำกำไรได้มั้ย
มี การทำ Private Label สามารถทำกำไรได้สูง เพราะคุณสามารถควบคุมต้นทุน กำหนดกำไรตามต้องการ และสร้างสินค้าพิเศษสำหรับลูกค้าของคุณได้ การควบคุมและความเป็นเอกลักษณ์นี้เองจะช่วยสร้างความภักดีจากลูกค้าและลดการแข่งขันทางตรงได้
การทำสินค้า Private Label ถูกกฎหมายหรือไม่
ไม่ผิด การทำ Private Label ถูกกฎหมายทั้งหมดเมื่อดำเนินการตามกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรฐานความปลอดภัย กฎหมายเครื่องหมายการค้า และข้อกำหนดการติดฉลาก เมื่อดำเนินการอย่างระมัดระวังแล้ว การทำสินค้า Private Label ก็เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การทำสินค้า Private Label ต้องลงทุนเท่าไหร่
การเริ่มต้นธุรกิจสินค้า Private Label มักจะต้องใช้งบประมาณอย่างน้อยๆ ประมาณ 35,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ ก็ได้แก่
- ค่าตัวอย่างสินค้า
- การตั้งค่าเว็บไซต์
- การประมวลผลการชำระเงิน
- ระบบการจัดการคำสั่งซื้อ
ควรตั้งราคาสินค้า Private Label ยังไงดี
การตั้งราคาสินค้า Private Label ควรพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
- ต้นทุนของผู้ผลิต
- ค่าขนส่ง
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ (เช่น เว็บไซต์, การตลาด, การประมวลผลการชำระเงิน)
- ราคาของคู่แข่ง
- ความเต็มใจของลูกค้าที่จะจ่าย
กการทำสินค้า Private Label ทำเงินได้หรือไม่
ได้ การทำแบรนด์ส่วนตัวสามารถทำกำไรได้เมื่อดำเนินการอย่างถูกต้อง ให้คุณปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในบทความนี้ เพื่อสร้างธุรกิจแบรนด์ส่วนตัวที่ประสบความสำเร็จ
จะเริ่มต้นการทำสินค้า Private Label จากตรงไหนดี
- เลือกกลุ่มเป้าหมายของคุณ
- ค้นหาผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงซึ่งตรงตามมาตรฐานของคุณ
- พัฒนาการออกแบบสินค้าและทดสอบตัวอย่าง
- วางระบบการจัดการคำสั่งซื้อและการจัดส่ง
- สร้างร้าน Shopify ของคุณและเริ่มต้นทำการตลาด