ผู้คนมักมองว่าค้าปลีกกับอีคอมเมิร์ซเป็นทางเลือกที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว เส้นแบ่งระหว่างสองอย่างนี้แทบไม่มีอยู่แล้ว เพราะทุกวันนี้ผู้บริโภคไม่ได้แยกแยะว่าซื้อของจากช่องทางไหน แทนที่จะเลือกเพียงช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ผู้ค้าปลีกที่ประสบความสำเร็จใช้ทั้งสองช่องทางควบคู่กัน
ด้านล่างนี้คือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค้าปลีก และวิธีที่สามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตในปี 2025
พร้อมเริ่มต้นธุรกิจแล้วหรือยัง? สร้างเว็บไซต์วันนี้ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือของ Shopify สำหรับการขายทั้งออนไลน์และหน้าร้าน
ค้าปลีกคืออะไร?
ค้าปลีกคือกระบวนการขายสินค้าและบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภคเพื่อการใช้งานส่วนตัว การซื้อขายสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในร้านค้าจริง ออนไลน์ หรือช่องทางอื่น ๆ ค้าปลีกครอบคลุมธุรกิจหลากหลายประเภท ตั้งแต่ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้สินค้าหาได้ง่ายและช่วยยกระดับประสบการณ์การช็อปปิ้งของลูกค้า
ผู้ค้าปลีก vs. การค้าปลีก
พูดง่าย ๆ “Retailing” คือคำกริยาที่หมายถึงการขายสินค้าให้กับผู้บริโภค ส่วน “Retailer” คือคำนามที่หมายถึงบุคคลหรือธุรกิจที่ทำหน้าที่ขายสินค้า
นี่คือตัวอย่างประเภทของผู้ค้าปลีกที่พบได้บ่อย
ผู้ค้าปลีกอิสระ (Independent Retailer)
ผู้ค้าปลีกอิสระคือผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจค้าปลีกขึ้นมาเองตั้งแต่ต้น พวกเขาอาจต้องรับบทบาทหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อสินค้า ฝ่ายขาย หรือการทำการตลาดแบรนด์
แฟรนไชส์ (Franchise)
แฟรนไชส์คือธุรกิจค้าปลีกที่มีโมเดลธุรกิจและแบรนด์ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ธุรกิจค้าปลีกสามารถจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อใช้ประโยชน์จากชื่อเสียงและตำแหน่งทางการตลาดของแฟรนไชส์ได้
ประเภทธุรกิจค้าปลีก
ค้าปลีก เป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่มีการจ้างงานมากที่สุดในสหรัฐฯ โดยมีธุรกิจค้าปลีกมากกว่า 3 ล้านแห่ง และมีพนักงานกว่า 9.8 ล้านคน
วอลมาร์ต, อมาซอน และ คอสโต เป็นตัวอย่างบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผู้ค้าปลีกสามารถแบ่งประเภทตามสินค้าที่จำหน่าย ได้แก่
- ผู้ค้าปลีกสินค้าอุปโภค (Hardline Retailers) ขายสินค้าที่มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์
- ผู้ค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค (Soft Goods หรือ Consumables Retailers) ขายสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป เช่น เสื้อผ้า รองเท้า และของใช้ส่วนตัว
- ผู้ค้าปลีกอาหารและของชำ (Food and Grocery Retailers) ขายสินค้าประเภทของสดและเบเกอรี่
- ผู้ค้าปลีกงานศิลปะ (Art Retailers) ขายงานศิลปะ หนังสือ และเครื่องดนตรี
ภายในหมวดหมู่ค้าปลีกยังมีประเภทของร้านค้าปลีกที่หลากหลาย ซึ่งบางประเภทที่พบได้บ่อย ได้แก่
ห้างสรรพสินค้า (Department Stores)
ห้างสรรพสินค้าเป็นหนึ่งในรูปแบบค้าปลีกที่เก่าแก่และมักเป็นแหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่ที่รวบรวมสินค้าหลายประเภทไว้ในที่เดียว ห้างอย่าง Target, Nordstrom และ Macy’s มักจัดพื้นที่ภายในร้านตามหมวดหมู่สินค้า
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Big-box Stores)
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่เชี่ยวชาญในสินค้าหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างของร้านกลุ่มนี้ ได้แก่ Best Buy, Home Depot และ Bed Bath & Beyond
ร้านค้าส่วนลด (Discount Stores)
ร้านค้าส่วนลดเป็นห้างสรรพสินค้าที่เน้นขายสินค้าลดราคาและแบรนด์ที่คุ้มค่า ตัวอย่างเช่น Dollar General, Aldi และ Ross
ร้านค้าขนาดเล็กของธุรกิจครอบครัว (Mom-and-pop Stores)
ร้านค้าประเภทนี้เป็นร้านขนาดเล็กที่ดำเนินกิจการโดยเจ้าของธุรกิจอิสระ มักเน้นขายสินค้าตามความต้องการเฉพาะกลุ่ม เช่น ร้านโชห่วยและร้านค้าท้องถิ่น
ร้านค้าอีคอมเมิร์ซ (Ecommerce Stores)
ค้าปลีกไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริง ผู้ค้าปลีกออนไลน์ขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตและจัดส่งให้ลูกค้าถึงบ้าน ตัวอย่างของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ ได้แก่ PlanToys และ Stellar Eats
องค์ประกอบสำคัญของซัพพลายเชนค้าปลีก
ซัพพลายเชนค้าปลีกประกอบด้วย 4 ฝ่ายหลัก ซึ่งมักถูกระบุไว้ในแผนธุรกิจค้าปลีก ได้แก่
- ผู้ผลิต (Manufacturers) ผู้ผลิตสินค้าและนำออกสู่ตลาด
- ผู้ค้าส่งหรือตัวแทนจำหน่าย (Wholesalers or Distributors) ซื้้อสินค้าจากผู้ผลิตเพื่อนำไปกระจายต่อ
- ผู้ค้าปลีก (Retailers) ซื้้อสินค้าจากผู้ค้าส่งแล้วจำหน่ายให้กับลูกค้า
- ผู้บริโภค (Consumers) ซื้อสินค้าจากผู้ค้าปลีกเพื่อนำไปใช้งาน
1. ผู้ผลิต
ผู้ผลิตเป็นจุดเริ่มต้นของซัพพลายเชนค้าปลีก โดยแปรรูปวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตของเล่นอาจใช้พลาสติก สี และวัสดุต่าง ๆ เพื่อสร้างชุดแอ็กชันฟิกเกอร์
2. ผู้ค้าส่ง
ผู้ค้าส่งซื้อสินค้าจำนวนมากจากผู้ผลิตในราคาที่ต่ำกว่า เพื่อนำไปขายต่อให้กับผู้ค้าปลีก เช่น ผู้ค้าส่งหนังสืออาจซื้อนิยายใหม่จากสำนักพิมพ์นับพันเล่ม แล้วกระจายไปยังร้านหนังสือ
3. ผู้ค้าปลีก
ผู้ค้าปลีกซื้้อสินค้าจำนวนมากจากผู้ค้าส่งหรือผู้ผลิตโดยตรง แล้วจำหน่ายให้กับผู้บริโภคปลายทาง โมเดลธุรกิจนี้เรียกว่า Direct-to-Consumer (DTC หรือ D2C) ตัวอย่างเช่น ร้านฮาร์ดแวร์ในพื้นที่อาจซื้้อกระป๋องสีเป็นพาเลตจากผู้ค้าส่ง แล้วนำมาขายให้กับลูกค้าแต่ละราย
4. ผู้บริโภค
ผู้บริโภคเป็นจุดสุดท้ายของซัพพลายเชนค้าปลีก โดยซื้้อสินค้าและบริการจากผู้ค้าปลีกในปริมาณที่ไม่มากเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัว การซื้อสินค้าปลีกของผู้บริโภคครอบคลุมหลากหลาย ตั้งแต่ขนมในร้านสะดวกซื้อไปจนถึงบริการจัดสวนที่บ้าน
มาร์กอัปและอัตรากำไรในค้าปลีก มีลักษณะยังไง?
ในแต่ละขั้นตอนของซัพพลายเชน ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกจะเพิ่ม มาร์กอัป (Markup) หรืออัตรากำไร (Profit Margin) เข้าไปในราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตจะคำนวณต้นทุนการผลิตแล้วบวกกำไรเพิ่มเข้าไปก่อนขายให้กับผู้ค้าส่ง
ผู้ค้าส่งก็ทำเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มกำไรเข้าไปในราคาที่ซื้อสินค้ามา ก่อนจะขายต่อให้กับผู้ค้าปลีก และสุดท้าย ผู้ค้าปลีกจะเพิ่มอัตรากำไรของตัวเองก่อนนำสินค้าไปขายให้กับลูกค้า
ตัวอย่างเช่น สินค้าหนึ่งชิ้นที่มีต้นทุนการผลิต 35 บาท อาจถูกขายให้ผู้ค้าส่งในราคา 70 บาท จากนั้นผู้ค้าส่งขายให้ผู้ค้าปลีกในราคา 140 บาท และสุดท้ายผู้ค้าปลีกขายให้ลูกค้าในราคา 280 บาท
ทำไมระบบจุดขาย (POS) จึงสำคัญต่อธุรกิจค้าปลีก
จุดขาย (Point of Sale - POS) คือจุดที่เกิดธุรกรรมการขายในร้านค้าปลีก ในร้านค้าจริง POS อาจเป็นเครื่องเก็บเงินสดหรือเครื่องชำระเงินอัตโนมัติ ส่วนในอีคอมเมิร์ซ POS ก็คือหน้าชำระเงินออนไลน์ที่ลูกค้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อทำรายการสั่งซื้อให้เสร็จสมบูรณ์
ธุรกิจค้าปลีกที่มีระบบจุดขายทั้งออนไลน์และหน้าร้าน เรียกว่าผู้ค้าปลีก Omnichannel
เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ราบรื่น ผู้ค้าปลีกแบบ Omnichannel หลายรายใช้ Shopify POS ซึ่งช่วยให้การขายออนไลน์และออฟไลน์เชื่อมต่อกัน พร้อมระบบติดตามสต็อกสินค้าแบบเรียลไทม์
ยกระดับการค้าปลีกให้ดียิ่งขึ้น
ผู้ค้าปลีกมุ่งหาสินค้าคุณภาพจากผู้ค้าส่งในราคาที่แข่งขันได้ พร้อมทั้งสร้างความแตกต่างด้วยการให้บริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม ความสำเร็จในธุรกิจค้าปลีกไม่ได้ขึ้นอยู่กับการขายสินค้าที่ใช่เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการค้าปลีก
Costco เป็นธุรกิจค้าปลีกหรือไม่?
Costco เป็นธุรกิจค้าปลีกที่ขายสินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภค แต่ใช้โมเดลที่คล้ายกับค้าส่ง โดยลูกค้าต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะสามารถซื้อสินค้าได้
ค้าปลีกมีทั้งหมดกี่ประเภท?
ค้าปลีกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
- ค้าปลีกแบบหน้าร้าน (Brick-and-mortar retailing): ร้านค้าที่มีสถานที่จริงให้ลูกค้าเข้าไปเลือกซื้อสินค้า
- ค้าปลีกออนไลน์ (Online retailing): การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์
- ค้าปลีกผ่านมือถือ (Mobile retailing): การซื้อขายสินค้าผ่านแอปพลิเคชันและอุปกรณ์มือถือ
ค้าปลีกหมายถึงอะไร?
ค้าปลีกหมายถึงการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคปลายทาง ผู้ค้าปลีกซื้้อสินค้าจากผู้ค้าส่ง ผู้ผลิต หรือผู้ค้าปลีกรายอื่น ๆ เพื่อนำมาขายต่อให้กับลูกค้าเพื่อทำกำไร กล่าวง่าย ๆ คือ ค้าปลีกคือการขายสินค้าและบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค
5 อันดับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของโลกมีใครบ้าง?
ตัวอย่างผู้ค้าปลีกชั้นนำของโลก ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Walmart ห้างสรรพสินค้า เช่น Macy’s, ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง เช่น Best Buy และร้านค้าออนไลน์ เช่น Amazon