การจัดการคลังสินค้า คือกระบวนการในการจัดระเบียบสต็อกสินค้าตลอดเส้นทาง
เป้าหมายของการจัดการสต๊อกสินค้า คือการลดต้นทุนในการถือครองสินค้าคงคลัง ในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาระดับสต็อกที่สม่ำเสมอและส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นการจัดการสต๊อกจากตรงไหน? คู่มือนี้แชร์เคล็ดลับและเทคนิคจากมือโปรด้านการจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อช่วยติดตามสต็อกและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
การจัดการสินค้าคงคลัง คืออะไร?
การจัดการสินค้าคงคลัง คือกระบวนการในการดูแลและควบคุม Flow ของสินค้า ซึ่งรวมถึงการติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าและวัสดุ การตรวจสอบการหมุนเวียนของสินค้าในสต๊อก และการเพิ่มประสิทธิภาพในการเติมสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีสินค้าอยู่ในสต็อกเสมอ
เป้าหมายของการจัดการสินค้าคงคลัง คือการลดต้นทุนในการถือครองสินค้า โดยช่วยให้คุณรู้ว่าเมื่อใดควรเติมสินค้าใหม่ หรือซื้อวัสดุเพิ่มเติมเพื่อผลิตสินค้าล็อตหน้า
สินค้าคงคลัง ได้แก่อะไรบ้าง?
- วัตถุดิบ: วัสดุหรือสารที่ใช้ในการผลิตหรือการทำสินค้า วัตถุดิบในที่นี้รวมถึง ไม้ โลหะ พลาสติก หรือผ้าที่ใช้ในการสร้างสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งมาจากซัพพลายเออร์และผู้ผลิตหลายราย
- งานระหว่างดำเนินการ (WIP): สินค้าที่เสร็จสมบูรณ์บางส่วนที่รอการดำเนินการต่อไป WIP แสดงถึงต้นทุนการผลิต เช่น ค่าแรงงานและค่าเครื่องจักร ต้นทุนจะถูกโอนเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูป และถือเป็นต้นทุนการขาย
- สินค้าสำเร็จรูป: ประเภทสินค้านี้หมายถึงจำนวนสินค้าที่มีในสต็อกซึ่งพร้อมให้ลูกค้าซื้อ เมื่อ WIP เสร็จสมบูรณ์ มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป
- สินค้าบำรุงรักษา ซ่อมแซม และการดำเนินงาน (MRO): วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต แต่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าขั้นสุดท้าย รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สินค้าทำความสะอาด อุปกรณ์สำนักงาน และอุปกรณ์เทคโนโลยี
การจัดการสต๊อก มีลักษณะอย่างไร?
ระบบการจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นระบบดิจิทัลและโฮสต์ในคลาวด์ ซึ่งเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์และผู้ใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจสถานะสินค้าในสต๊อกตรงกัน
โดยพื้นฐานแล้ว โปรแกรมการจัดการสินค้าคงคลังจะติดตามและจัดระเบียบทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าในสต๊อกและซิงค์ข้อมูลไปยังระบบธุรกิจอื่น ๆ โดยมีระบบสินค้าคงคลังหลักๆ 3 ประเภท ได้แก่ ระบบต่อเนื่อง ระบบตามช่วงเวลา และระบบ Manual
ระบบสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่องจะติดตามสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์ ในขณะที่ระบบตามช่วงเวลาจะต้องมีการนับสินค้าคงคลังจริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงเวลาที่กำหนด ส่วนระบบสินค้าคงคลังแบบ Manual คือวิธีการแบบเก่าโดยการใช้ปากกาและกระดาษจด ซึ่งเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม หากยอดขายรายเดือนของคุณอยู่ในหลักเดียว
รวมการจัดการสินค้าคงคลังของคุณไว้ที่ Shopify
Shopify ช่วยให้คุณจัดการสินค้าในสต๊อกได้ ทั้งร้านค้าแบบชั่วคราว หรือร้านค้าปลีกหลายแห่งที่ใช้คลังสินค้าเดียวกัน ระบบของ Shopify จะซิงค์จำนวนสต็อกโดยอัตโนมัติเมื่อคุณรับ ขาย คืน หรือแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ออนไลน์หรือในร้าน ไม่จำเป็นต้องปรับยอดด้วยมือ
ทำความรู้จักระบบจัดการสินค้าในสต๊อกของ Shopify
ความสำคัญของการจัดการสต๊อกสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือบริษัทที่ใช้การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) การจัดการสินค้าคงคลังมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้
หลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพ
หากคุณขายสินค้าที่มีวันหมดอายุ โอกาสในการขายแต่ละครั้งมีเวลาจำกัด การจัดการสินค้าคงคลังช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมสินค้าคงคลัง
ป้องกันสินค้าตาย
สินค้าตาย หมายถึงสินค้าที่จะไม่นำออกขาย ไม่ใช่เพราะหมดอายุ แต่เพราะอาจไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไปหรือไม่เข้ากับฤดูกาล แต่ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่รอบคอบ คุณสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีค่าใช้จ่ายนี้ได้
ในทางตรงกันข้าม คุณควรติดตามระดับสินค้าคงคลังเพื่อลดความเสี่ยงของการขายเกินกว่าที่ผลิตหรือการทำบัญชีสำหรับสินค้าคงคลังที่ไม่มีอยู่จริง
ลดต้นทุนการจัดเก็บ
การจัดเก็บสินค้าเป็นต้นทุนที่แปรผัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการจัดเก็บที่คุณต้องการ เมื่อคุณเก็บสินค้ามากเกินไปในคราวเดียวหรือต้องเผชิญกับสินค้าที่ขายยาก ต้นทุนการจัดเก็บก็จะเพิ่มขึ้น การหลีกเลี่ยงสิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินได้
ปรับปรุงกระแสเงินสด
สินค้าคงคลังมีผลโดยตรงต่อยอดขาย (โดยกำหนดว่าคุณสามารถขายได้มากเพียงใด) และค่าใช้จ่าย (โดยกำหนดว่าคุณต้องซื้ออะไรบ้าง) ทั้ง 2 องค์ประกอบนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อ สินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจ จำนวนเงินสดที่คุณมีอยู่ในมือ การจัดการสินค้าคงคลังที่ดีนำไปสู่การจัดการกระแสเงินสดที่ดีขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่ง
การจัดการสินค้าคงคลังที่ดีสามารถช่วยปรับปรุงการจัดส่งคำสั่งซื้อ คุณสามารถใช้กลยุทธ์ เช่น การกระจายสินค้าคงคลัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถือสินค้าคงคลังในหลายศูนย์การจัดส่ง เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของคุณอยู่ใกล้กับสถานที่ของลูกค้า สิ่งนี้ช่วยให้เวลาจัดส่งเร็วขึ้นในขณะที่ลดต้นทุนการจัดส่งและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้เช่นกัน
การจัดการสต๊อกสินค้าอย่างเหมาะสม ยังหมายถึงการมอบประสบการณ์การคืนสินค้าที่ราบรื่นให้กับผู้ซื้อ ในขณะที่มั่นใจได้ว่าสินค้าที่ใช้ได้จะถูกนำกลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียน
14 เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง
- การวางแผนความต้องการ
- การนับสินค้าคงคลัง
- LIFO vs FIFO
- เทคโนโลยี RFID
- บาร์โค้ด
- การใช้รายงาน ABC
- การประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง
- ปริมาณการสั่งซื้อต่ำสุด
- การแจ้งเตือนสินค้าคงคลังสำรอง
- การตรวจสอบสินค้าในสต๊อก
- Six Sigma
- ความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์
- การจัดการสต๊อกสินค้าโดยเอาท์ซอร์ส
- ระบบ Just-in-time
ไม่ว่าคุณจะใช้ระบบใด เทคนิคต่อไปนี้จะช่วยปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลังของคุณและกระแสเงินสดได้
1. การวางแผนความต้องการ
ส่วนสำคัญของการจัดการสินค้าคงคลังที่ดี คือการคาดการณ์ความต้องการอย่างแม่นยำ แม้จะมีตัวแปรมากมายในการคาดการณ์ยอดขายในอนาคต แต่ควรให้ความสำคัญกับยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายที่รับประกันจากสัญญาและการสมัครสมาชิก ฤดูกาล และโปรโมชั่นที่กำลังจะมาถึง
2. การนับสินค้าคงคลัง
การปรับยอดสินค้าคงคลังเป็นประจำมีความสำคัญ ในหลายกรณี คุณจะต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์สินค้าคงคลังและรายงานจากระบบการจัดการคลังสินค้า เพื่อทำความเข้าใจว่ามีสินค้ากี่ชิ้นในสต็อก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเช็คให้ชัวร์ว่าข้อมูลตรงกัน ไม่มีวิธีใดที่ดีกว่าการนับสินค้าคงคลังจริง หรือการตรวจนับสต็อก
อัปเดตบันทึกสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์ การเข้าถึงข้อมูลสินค้าคงคลังที่ถูกต้องและสดใหม่เป็นกุญแจสำคัญในการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. LIFO vs FIFO
ระบบการจัดการสินค้าคงคลังแบบ Last in, first out (LIFO) สมมติว่าสินค้าที่คุณซื้อเข้ามาล่าสุดจะถูกขายก่อน หากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามเวลา สินค้าที่ซื้อเข้ามาล่าสุดจะมีราคาสูงที่สุด ซึ่งหมายความว่าต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูงขึ้นจะทำให้กำไรลดลงและทำให้รายได้ที่ต้องเสียภาษีลดลง
ระบบ First in, first out (FIFO) จะกำหนดต้นทุนสินค้าที่ขาย (COGS) โดยหมายความว่าสินค้าที่เก่าที่สุดจะถูกขายก่อน ซึ่งสำคัญมากในการหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพ
4. เทคโนโลยี RFID
การระบุด้วยความถี่วิทยุหรือเทคโนโลยี RFID มีบทบาทสำคัญในอนาคตของการจัดการสินค้าคงคลัง ในความเป็นจริง หลายบริษัทใช้แท็ก RFID เพื่อค้นหาสินค้า ต่อสู้กับสินค้าคงคลังที่ไม่มีอยู่จริง และลดสินค้าคงคลัง Surplus
5. บาร์โค้ด
ร้านค้าปลีกบางแห่งใช้ระบบ ารสแกนบาร์โค้ดเพื่อติดตามระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการ สแกนบาร์โค้ดที่ระบุแต่ละผลิตภัณฑ์ ส่งข้อมูลนั้นกลับไปยัง IMS ของคุณเพื่อให้คุณสามารถติดตามแต่ละรายการได้
ระบบสินค้าคงคลังบาร์โค้ดจะทำให้การติดตามผลิตภัณฑ์เป็นไปโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่เข้าสู่ร้านค้าจนถึงเวลาที่ขาย ระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเรียลไทม์เกี่ยวกับสินค้าในสต๊อกของคุณ ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด
6. การใช้รายงาน ABC
จัดประเภทสินค้าคงคลังของคุณโดยใช้การวิเคราะห์ ABC คุณสามารถใช้รายงานนี้เพื่อจัดอันดับมูลค่าของสต็อกตามเปอร์เซ็นต์ของรายได้ของคุณ ดังนี้
- A = % ของสต็อกที่แสดงถึง 80% ของรายได้
- B = % ของสต็อกที่แสดงถึง 15% ของรายได้
- C = % ของสต็อกที่แสดงถึง 5% ของรายได้
สต็อก A แสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรและมีค่าที่สุด คุณจะต้องมั่นใจว่ามีผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่ในมือเสมอเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการขายในอนาคต ในทางกลับกัน สต็อก C จะเคลื่อนที่ช้า หรือเป็นสินค้าตาย ลดราคาสินค้าเหล่านี้เพื่อปล่อยเงินสดและพื้นที่จัดเก็บ
7. การประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง
การประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง คือค่าของสินค้าที่ยังไม่ขายในช่วงระยะเวลาการรายงาน เนื่องจากสินค้าคงคลังมักเป็นสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของคุณ การวัดมูลค่าอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ วิธีที่คุณประเมินมูลค่าสินค้าคงคลังมีผลต่อต้นทุนสินค้าที่ขาย รายได้สุทธิ และ สินค้าคงคลังที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไร นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับวิธีการประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง
8. ปริมาณการสั่งซื้อต่ำสุด
ปริมาณการสั่งซื้อต่ำสุด (MOQ) คือจำนวนสินค้าต่ำสุดที่คุณต้องซื้อในหนึ่งคำสั่งจากซัพพลายเออร์ โดยซัพพลายเออร์กำหนด MOQ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรในคำสั่งซื้อที่ให้ผลกำไรน้อยหรือไม่มีเลย
การจัดการเมตริกนี้อย่างมีกลยุทธ์ ทำให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพระดับสินค้าคงคลัง ลดต้นทุน และรักษาห่วงโซ่อุปทานที่ราบรื่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจค้าปลีกได้
9. การแจ้งเตือนสินค้าคงคลังสำรอง
สินค้าคงคลังสำรอง หรือระดับพาร์ คือจำนวนสินค้าต่ำสุดที่จำเป็นต้องมีอยู่เสมอ คุณรู้ว่าถึงเวลาที่จะทำการสั่งซื้อ เมื่อสินค้าคงคลังของคุณลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ระดับพาร์ควรแตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์ ความต้องการของลูกค้า และระยะเวลาที่ใช้ในการรับสินค้าคงคลังใหม่ (IMS ของคุณจะติดตามข้อมูลนี้ในรายงานการขายปลีก)
10. การตรวจสอบสินค้าในสต๊อก
การตรวจสอบสินค้าคงคลังเป็นสิ่งสำคัญ ควรทำการตรวจสอบทั้งรายเดือนและรายปี เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลระหว่างจำนวนสต็อกและบันทึกทางการเงินถูกต้อง ตรวจสอบความไม่ตรงกันจนกว่าคุณจะพบและจัดการกับสาเหตุที่แท้จริง
11. Six Sigma
Six Sigma เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพที่ใช้ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดการตัดบัญชีที่เกินและล้าสมัย สินค้าคงคลังที่มักถูกขายต่ำกว่าต้นทุนหรือบริจาค
12. ความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์
ความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์จะทำให้คุณมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหาไม่คาดคิด เมื่อคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์อยู่แล้ว ปริมาณการสั่งซื้อต่ำสุดมักเป็นเรื่องที่สามารถเจรจาได้
เพื่อรักษาความสัมพันธ์นี้ในฐานะผู้ค้าปลีก แจ้งให้ซัพพลายเออร์ของคุณทราบเมื่อคุณคาดหวังว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นหรือต้องการคำสั่งซื้อจำนวนมาก เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับการผลิตและระยะเวลาในการจัดส่งได้
นอกจากนี้ยังสำคัญที่จะต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ ระบุจุดที่ซัพพลายเออร์สามารถปรับปรุงหรือเมื่อใดควรตัดความสัมพันธ์
13. การจัดการสต๊อกสินค้าโดยเอาท์ซอร์ส
Shopify Fulfillment Network จัดจำหน่ายสินค้าคงคลังของคุณทั่วเครือข่ายคลังสินค้าในสหรัฐอเมริกาในนามของคุณ ด้วยเหตุนี้คุณจึงสามารถเสนอการจัดส่งภายใน 2 วันให้กับลูกค้าของคุณในอัตราที่เหมาะสม
ในฐานะที่เป็นพันธมิตรในการจัดส่งของคุณ Shopify จะรับออเดอร์จากลูกค้า รับการคืนสินค้าจากลูกค้า และนำสินค้าที่ใช้ได้กลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียน
14. ระบบ Just-in-time
การจัดการสินค้าคงคลังแบบ Just-in-time หรือ JIT คือการรักษาระดับสินค้าคงคลังให้น้อยที่สุดเพื่อให้ตรงกับความต้องการ โดยเติมสินค้าใหม่ก่อนที่สินค้าจะหมด
JIT ต้องการการวางแผนและการคาดการณ์อย่างรอบคอบ แต่ทำงานได้ดีสำหรับแบรนด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่มีการเปิดตัวและขยายสายผลิตภัณฑ์ที่กำหนดไว้
การจัดการสินค้าคงคลังหลายช่องทาง
การขายในหลายช่องทางไม่ใช่แค่คำถามอีกต่อไป แต่เป็นข้อบังคับ หากคุณต้องการแข่งขันกับผู้ค้าปลีกออนไลน์อื่น ๆ นั่นทำให้การจัดการสินค้าคงคลังมีความสำคัญและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ลูกค้าไม่สนใจว่าสินค้าอยู่ที่ไหน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการทราบว่ามีสินค้าอยู่ในสต็อก และจะได้รับของหรือไม่
นั่นคือเหตุผลที่วิธีการแบบบูรณาการหลายช่องทางมีความสำคัญมากเมื่อพูดถึงการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งระบบ Shopify POS ช่วยให้คุณเชื่อมต่อข้อมูลในร้านกับข้อมูลออนไลน์ ให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพสต็อกได้ตลอดเวลาและทราบว่าสินค้าใดอยู่ที่ไหน
เมื่อ Allbirds ใช้ Shopify POS ระบบมีความสามารถในการใช้ประโยชน์เครื่องมือทางธุรกิจทั้งหมดที่รวมอยู่ โดยเฉพาะการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถปรับระดับสต็อกในร้านค้าได้ โดยเก็บสินค้าคงคลังในร้านน้อยลง รวมถึงใช้พื้นที่ค้าปลีกน้อยลงด้วย
“ด้วย Shopify เรามีระบบจุดขายและระบบอีคอมเมิร์ซภายใต้ซิสเต็มเดียวกัน ซึ่งตอบโจทย์วัตถุประสงค์สูงสุด สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้ค้าปลีกหลายช่องทาง ระบบของเรามองลูกค้าเป็นคนๆ เดียวกัน ไม่ว่าคุณจะช้อปปิ้งที่ไหนกับเรา” กล่าวโดย Travis Boyce หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการค้าปลีกโกลบอล
ระบบการจัดการสินค้าในสต๊อก
ทุกธุรกิจควรพยายามลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ในกระบวนการจัดการสินค้าคงคลังให้มากที่สุด ซึ่งหมายความว่าต้องใช้ซอฟต์แวร์การจัดการสินค้าคงคลัง
ซอฟต์แวร์การจัดการสินค้าคงคลัง
ซอฟต์แวร์การจัดการสินค้าคงคลัง มาในรูปแบบโปรแกรมแยกต่างหาก หรืออาจสร้างอยู่ในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopify คุณสามารถติดตาม และปรับตารางการเติมสินค้า รวมถึงติดตามคำสั่งซื้อจากการขาย ไปจนถึงการจัดส่ง
แอปฯ จัดการสินค้าในสต๊อก
แอปการจัดการสินค้าคงคลัง ช่วยให้คุณติดตามสถานะของคลังสินค้าได้อย่างเรียลไทม์ แอปเหล่านี้มีประโยชน์สำหรับพนักงานที่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของคุณ ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
แอปการจัดการสินค้าคงคลังส่วนใหญ่เสนอการติดตามปริมาณและที่ตั้งของสินค้าคงคลัง การแจ้งเตือนระดับสต็อก และการติดตามคำสั่งซื้อ
หากคุณเป็นผู้ค้าปลีก Shopify ลองใช้แอปฯ การจัดการสินค้าคงคลังยอดนิยมเหล่านี้กับร้านค้าของคุณ
- Stocky: การติดตามสินค้าคงคลังที่มีรายละเอียดและมีประสิทธิภาพในเวลาจริง
- Thrive by Shopventory: เชื่อมต่อบัญชี Shopify หลายบัญชีและทำให้การสั่งซื้ออัตโนมัติ
- ShipHero: การคาดการณ์ความต้องการ การทำให้การสั่งซื้ออัตโนมัติ และอื่น ๆ
- Zoho: เชื่อมต่อกับ Zoho CRM และ Zoho Books
การจัดการสต๊อกสินค้าด้วย Shopify
หากคุณดำเนินธุรกิจด้วยระบบของ Shopify การจัดการสินค้าคงคลังได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว
คุณสามารถตั้งค่าการติดตามสินค้าในสต๊อก ดูสินค้าในสต๊อก และปรับระดับสินค้าบนระบบสินค้าคงคลังบนแผงควบคุม Shopify นอกจากนี้ คุณยังสามารถดูประวัติการปรับและโอนสินค้าตามตัวแปรของระบบติดตามได้อีกด้วย
Shopify ยังให้รายงานสินค้าคงคลังที่แสดงภาพรวมของสินค้าคงคลังทุกสิ้นเดือน โดยคุณสามารถเข้าถึงรายงานต่าง ๆ เช่น
- สินค้าคงคลังเฉลี่ยที่ขายต่อวัน
- เปอร์เซ็นต์ของสินค้าคงคลังที่ขายได้
- การวิเคราะห์ ABC ตามผลิตภัณฑ์
- อัตราการขายผลิตภัณฑ์
- จำนวนวันที่เหลือของสินค้าคงคลัง
เพื่อค้นหารายงานเหล่านี้
- จากแผงควบคุม Shopify ไปที่ Analytics > รายงาน
- คลิกหมวดหมู่
- คลิกสินค้าคงคลัง เพื่อกรองรายงานให้แสดงเฉพาะสินค้าในสต๊อก
อนาคตของการจัดการสินค้าคงคลัง
เทคโนโลยียังคงเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้มีการประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง
การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์
การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ใช้การรวมกันของการทำงานอัตโนมัติ ข้อมูล และการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อให้การคาดการณ์และการวิเคราะห์ที่แม่นยำ โดยอิงจากอัลกอริธึม โมเดลการวิเคราะห์เหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่สนับสนุนด้วยข้อมูลแก่ผู้ค้าปลีก ซึ่งสามารถปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง เทคโนโลยีนี้จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป และข้อมูลที่คุณให้มากเท่าใด เทคโนโลยีก็จะรู้จักธุรกิจของคุณได้ดีขึ้นเท่านั้น
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังคงพัฒนาและได้รับการประยุกต์ใช้ใหม่ ๆ ภายในโซลูชันการจัดการสินค้าคงคลัง โซลูชัน AI ที่สามารถปรับตัวเองได้ช่วยให้ธุรกิจ ทำให้การตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าในสต๊อกงเป็นอัตโนมัติและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์
IoT
อุปกรณ์ Internet of Things หรือ IoT สามารถลดเวลาที่ใช้ในการค้นหาสินค้าคงคลังของพนักงานโดยการให้ข้อมูลตำแหน่งแบบเรียลไทม์ ข้อมูลนี้ยังช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีหลักการและประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะคุณจะรู้ว่าสินค้าอยู่กี่ชิ้นและอยู่ที่ไหนบ้าง
คุมสต็อกด้วยการจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพบน Shopify
ระบบการจัดการสินค้าคงคลังจะช่วยลดต้นทุนการถือครอง ช่วยให้คุณวิเคราะห์รูปแบบการขาย คาดการณ์ยอดในอนาคต และเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด ด้วยการจัดการสินค้าคงคลังอย่างเหมาะสม ธุรกิจมีโอกาสทำกำไรและอยู่รอดได้ดีกว่า
จัดการสต๊อกสินค้าด้วยระบบของ Shopify
Shopify มาพร้อมกับเครื่องมือในตัว เครื่องมือช่วยจัดการสต๊อกและร้านค้าในระบบเดียว ติดตามยอดขาย คาดการณ์ความต้องการ ตั้งค่าแจ้งเตือนสต็อกต่ำ สร้างออเดอร์ นับสินค้าคงคลัง และอื่น ๆ
รู้จักระบบจัดการสต๊อกบน Shopify
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดการสต๊อกสินค้า
การจัดการสต๊อกสินค้า ช่วยเรื่องอะไร?
การจัดการสต๊อกสินค้า ช่วยให้ผู้ค้าปลีกติดตามและควบคุมโฟลว์สินค้า ซึ่งรวมถึงการติดตามทั้งการเคลื่อนไหวของสินค้าและวัสดุ เช็คการหมุนเวียนของสินค้าในสต๊อก และเพิ่มประสิทธิภาพการเติมสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่ามีสินค้าอยู่ในสต็อกเสมอ
4 ขั้นตอนในการจัดการสินค้าคงคลัง คืออะไร?
- ตั้งค่าซอฟต์แวร์การจัดการสินค้าคงคลัง
- ใช้เทคนิคการจัดการสินค้าในสต๊อก
- ป้อนข้อมูลที่มี
- วิเคราะห์ผลลัพธ์
กุญแจสำคัญในการจัดการสินค้าคงคลังคืออะไร?
กุญแจสำคัญในการจัดการสินค้าคงคลัง คือการใช้ชุดเครื่องมือและระบบที่รวมเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ ซึ่งจะมอบมุมมองที่ครอบคลุมและแม่นยำที่สุดใหักับธุรกิจของคุณ
วัตถุประสงค์หลักของการจัดการสินค้าคงคลังคืออะไร?
วัตถุประสงค์หลักของการจัดการสินค้าคงคลัง คือการเพิ่มประสิทธิภาพระดับสต็อก ช่วยให้ผู้ค้าปลีกหลีกเลี่ยงการขาดแคลนสินค้า ลดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ
5 ขั้นตอนกระบวนการจัดการสินค้าคงคลังคืออะไร?
- การคาดการณ์ความต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระดับสต็อก
- การเติมสินค้า เป็นการทำให้แน่ใจว่ามีการเติมสินค้าได้ทันท่วงที
- การประมวลผลออเดอร์ ทำให้การจัดส่งคำสั่งซื้อเป็นไปอย่างราบรื่น
- การจัดเก็บและการจัดระเบียบ รักษาคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
- การรายงานและวิเคราะห์ ช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าอย่างมีข้อมูล
ตัวอย่างของการจัดการสินค้าคงคลัง คืออะไร?
ตัวอย่างของการจัดการสินค้าคงคลัง คือ ร้านค้าปลีกที่ใช้ระบบการสแกนบาร์โค้ด เพื่อติดตามระดับสินค้าคงคลัง ระบบจะคาดการณ์ความต้องการและแนวโน้มการขาย เพื่อตัดสินใจปริมาณสินค้าที่เหมาะสม ระบบการเติมสินค้าอัตโนมัติจะทำการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ เมื่อสต็อกถึงระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า