การเลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซคือขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณ
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมจะมาพร้อมฟีเจอร์ที่ร้านค้าออนไลน์ของคุณจำเป็นต้องมี ทั้งช่วยเพิ่มคอนเวอร์ชันที่จุดชำระเงิน มอบช่องทางการขายที่หลากหลาย และช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ง่ายขึ้น
ว่าแต่จะเริ่มต้นจากตรงไหนดีล่ะ บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจสิ่งที่คุณต้องดูเวลามองหาซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ และชี้เป้าตัวอย่าโซลูชั่นคอมเมิร์ซที่ควรค่าแก่การลองเป็นอย่างยิ่งในปี 2025
ซอฟต์แวร์ |
ราคาเริ่มต้น (แผนรายเดือน) |
สร้างขึ้นเพื่ออีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ |
ฟีเจอร์การขายขั้นสูง |
---|---|---|---|
ประมาณ 170 บ./เดือน |
ใช่ |
มี |
|
Wix |
ฟรี |
ไม่ใช่ |
มี |
BigCommerce |
ประมาณ 1,000 บ. |
ใช่ |
มี |
Adobe Commerce |
ราคาแบบปรับแต่งเอง |
ใช่ |
มี |
WooCommerce |
ฟรี |
ใช่ |
มี |
PrestaShop |
ฟรี |
ใช่ |
ไม่มี |
Squarespace |
ประมาณ 970 บ. |
ไม่ใช่ |
ไม่มี |
GoDaddy |
ประมาณ 415 บ. |
ไม่ใช่ |
ไม่มี |
Volusion |
ประมาณ 1,000 บ. |
ไม่ใช่ |
ไม่มี |
Amazon |
ประมาณ 1,400 บ. |
ใช่ |
ไม่มี |
Shift4Shop |
ฟรี |
ใช่ |
ไม่มี |
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซคืออะไร?
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซคือระบบที่ช่วยให้ร้านขายของออนไลน์ดำเนินการได้ โดยอาจมาพร้อมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การชำระเงิน ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง บริการจัดส่ง และเครื่องมือการตลาด
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซพื้นฐานจะอนุญาตให้คุณลงรายการสินค้าที่มีวางจำหน่ายและรับชำระเงินออนไลน์ อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มส่วนใหญ่จะทำอะไรได้มากกว่านั้น โดยสามารถตอบโจทย์สิ่งที่ธุรกิจออน์ไลน์ต้องการได้หลากหลาย เช่น การสร้างเว็บไซต์ และการผสานการทำงานเข้ากับโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดจะมอบเครื่องมือและพีเจอร์ที่ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศเพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตได้
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดสำหรับปี 2025
- Shopify
- Wix
- BigCommerce
- Adobe Commerce
- WooCommerce
- PrestaShop
- Squarespace
- GoDaddy
- Volusion
- Amazon
- Shift4Shop
1. Shopify
Shopify เป็นซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดสำหรับผู้ขายส่วนใหญ่ เพราะ Shopify ได้รวมอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายเข้ากับฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซขั้นสูง
ไม่ว่าคุณจะขายผ่านเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ตลาดออนไลน์ หรือขายแบบออฟไลน์ Shopify ก็อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถจัดการธุรกิจของตนได้จากแพลตฟอร์มเดียว
ตัวอย่างชุดเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ของ Shopify
- เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
- บริการโฮสต์
- การประมวลผลการชำระเงิน
- การจัดส่งและการจัดการคำสั่งซื้อ
- การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM)
- เครื่องมือการตลาดและผลิตภัณฑ์อีกมากมาย
- Shopify Magic ผู้ช่วย AI สำหรับอีคอมเมิร์ซ
เมื่อธุรกิจของคุณมีเว็บไซต์แล้ว คุณก็สามารถก็ต่อยอดเว็บไซต์ของคุณให้เจ๋งขึ้นไปอีกด้วย Shop Pay ซึ่งเป็น ระบบชำระเงินออนไลน์ที่มีคอนเวอร์ชันสูงที่สุด คุณสามารถใช้ประโยชน์จากร้านค้าแบบกำหนดเอง การกู้คืนขั้นตอนการชำระเงินที่ยังไม่เสร็จสิ้น และบริการสมัครสมาชิกผลิตภัณฑ์ได้เลยเต็มที่ เพื่อสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งที่ดียิ่งกว่าเดิม
เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น คุณก็สามารถใช้ Shopify POS เพื่อจัดการยอดขายแบบออฟไลน์ และใช้ และ Shopify Fulfillment ในการจัดส่งและจัดการสต๊อกได้
และถ้าคุณต้องการฟีเจอร์เพิ่มล่ะก็ คุณสามารถไปที่ Shopify App Store เพื่อค้นหาแอปมากกว่า 8,000 แอปที่ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อและอัปเกรดเว็บไซต์ของคุณโดยเฉพาะ
เมื่อใช้ Shopify คุณก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเซียนเทคโนโลยีหรือมีทุนหนาๆ เลย เพราะซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซนี้จัดมาให้ครบทุกอย่างที่คุณต้องใช้ในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจของคุณ
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: 3 วัน จากนั้น 34 บาท สำหรับการใช้งานในเดือนแรก
ราคา
- Shopify Starter: ประมาณ 170 บาทต่อต่อเดือน
- Shopify Basic (ยอดนิยม): ประมาณ 1,000 บาทต่อเดือน
- Shopify: ประมาณ 2,800 บาทต่อเดือน
- Shopify Advanced: ประมาณ 10,400 บาทต่อเดือน
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ
- Walmart Marketplace
- eBay
- Amazon
- และช่องทางการขายของ Shopify อีกมากมาย
ฟีเจอร์แอปมือถือ: ชุดเครื่องมือสำหรับโทรศัพท์มือถือที่คุณสามารถจัดการธุรกิจออนไลน์ของคุณได้เต็มที่
ระบบขายหน้าร้าน: มี
2. Wix
Wix เป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการลากและวาง (drag-and-drop) ถ้าคุณต้องการขายของออนไลน์ แพลตฟอร์มนี้ก็มีฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซที่คุณสามารถเพิ่มลงในเว็บไซต์ได้ แม้ว่าเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ของ Wix จะฟรี แต่คุณจะต้องสมัครสมาชิกแบบชำระเงินเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมืออีคอมเมิร์ซ
และเอาแบรนด์ Wix ออกจากหน้าเว็บ
เว็บไซต์ที่สร้างด้วย Wix สามารถทำงานพื้นฐานๆ เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซได้ เช่น คุณสามารถติดตามคำสั่งซื้อ ประมวลผลการชำระเงินออนไลน์ ขายผ่านหลายช่องทาง (ในแผนบนๆ) และจัดการอีเมลลูกค้าโดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม Wix ยังขาดฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซเฉพาะทางที่มีใน Shopify เช่น การแจ้งเตือนเมื่อมีสินค้าในสต๊อกต่ำ เพื่อช่วยคุณหลีกเลี่ยงการที่สินค้าจะขาดสต๊อก และถ้าคุณมีสต๊อกขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ซอฟต์แวร์ของ Wix อาจธรรมดาเกินไปสำหรับความต้องการของคุณ
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: ไม่มีการทดลองใช้งานฟรี
ราคา: 0 - 159 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 0 - 5,500 บาท) ขึ้นอยู่กับฟีเจอร์ที่มี
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้ เมื่อใช้แผนบนๆ
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: มี
ดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง Shopify และ Wix
3. BigCommerce
BigCommerce สร้างซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซระดับกิจการขนาดใหญ่ซึ่งออกแบบมาสำหรับบริษัทใหญ่ๆ แพลตฟอร์มนี้ทรงพลังพอที่จะจัดการธุรกิจค้าปลีกที่มีเทิร์นโอเวอร์สูงและสต๊อกขนาดใหญ่
BigCommerce รองรับฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซที่หลากหลาย อาทิ การขายข้ามพรมแดน, SEO, การขายผ่านโซเชียล และตลาดของผู้ให้บริการภายนอก อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์เหล่านี้อาจจะมากเกินไปสำหรับร้านค้าขนาดเล็ก
นอกจากนี้ BigCommerce ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการปรับแต่ง เมื่อแบรนด์อีคอมเมิร์ซ Grace & Lace ต้องการใช้กลยุทธ์การแนะนำสินค้าที่ราคาสูงกว่าและการเสนอสินค้าอื่นที่คล้ายกัน ทางแบรนด์จึงเปลี่ยนจาก BigCommerce ไปยัง Shopify เพื่อให้ได้ใช้งานฟีเจอร์การขายที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
ราคา: 29–299 ดอลลาร์ต่อเดือน (1,000 - 10,000 บาท) ขึ้นอยู่กับฟีเจอร์ที่มี และมีราคาแบบปรับแต่งเองสำหรับกิจการขนาดใหญ่
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: 15 วัน
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้ รวมถึงเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาด้วย
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: สามารถผสานการทำงานกับผู้ให้บริการภายนอกได้
💡 แบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลกต่างเลือกใช้ Shopify เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่ธุรกิจใหญ่ๆ ต้องการ
ดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง Shopify และ BigCommerce
4. Adobe Commerce (ชื่อเดิม Magento)
Adobe Commerce เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับบริษัทที่มีทรัพยากรในการสร้างและบำรุงรักษาร้านค้าออนไลน์ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้ผู้ให้บริการโฮสต์ภายนอกและต้องมีความสามารถด้านเทคโนโลยีระดับพื้นฐาน
Adobe Commerce อาจไม่ใช่แพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ต้องการขายผ่านหลายช่องทาง เพราะการผสานการทำงานกับช่องทางและระบบการชำระเงินระหว่างประเทศนั้นซับซ้อนกว่าซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่อยู่ในลิสต์นี้
ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ Character.com ทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่เพื่อนำเสนอสินค้าหลายพันรายการโดยใช้ Magento (ตอนนี้คือ Adobe Commerce) และเพื่อที่จะทำให้เว็บไซต์มีฟังก์ชั่นการทำงานตามที่ต้องการ ทางร้านจึงต้องผสานการทำงานหลายอย่าง ทำให้การจัดการเว็บไซต์เป็นเรื่อยยุ่งยาก แต่หลังจากย้ายไปยัง Shopify แล้ว Character.com ก็พบว่าพวกเขามีคอนเวอร์ชันเพิ่มขึ้นถึง 40%
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: ไม่มีการทดลองใช้งานฟรี
ราคา: ราคาแบบปรับแต่งเองเท่านั้น
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้จำกัด
ฟีเจอร์แอปมือถือ: ไม่มี
ระบบขายหน้าร้าน: สามารถผสานการทำงานกับผู้ให้บริการภายนอกได้
ดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง Shopify และ Adobe Commerce
5. WooCommerce
WooCommerce เป็นปลั๊กอิน WordPress ที่สามารถใช้งานได้ฟรี โดยจะเปลี่ยนบล็อก WordPress ให้เป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซ ที่มีแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และการชำระเงินของตัวเอง
เมื่อใช้ WooCommerce ผู้ขายสามารถโปรโมทผลิตภัณฑ์ รับคำสั่งซื้อ และติดตามยอดขายได้ และสามารถติดตั้งส่วนเสริมเพิ่มเติมเพื่อใช้ฟีเจอร์ที่ซับซ้อนกว่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม แม้การติดตั้งส่วนเสริมเพิ่มเติมจะทำให้แฟลตฟอร์มมีความยืนหยุ่นมากขึ้น แต่ก็เป็นการเพิ่มความซับซ้อนให้กับระบบหลังบ้านด้วย
และเพราะฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การลงทะเบียนชื่อโดเมนและการโฮสต์ไม่ได้มีอยู่ในตัว WooCommerce คุณจึงต้องจ่ายแยกต่างหาก ซึ่งอาจทำให้การติดตามค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นเรื่องยาก
ราคา: ปลั๊กอินพื้นฐานฟรี ฟีเจอร์เพิ่มเติมขายแยกต่างหาก
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: มี
💡 สร้างรายได้จากเว็บไซต์ WordPress ด้วยปุ่มซื้อของ Shopify คุณสามารถฝังปุ่มซื้อเพื่อเริ่มขายบนบล็อกของคุณได้ในราคาเพียง 5 ดอลลาร์ (ประมาณ 173 บาท) ต่อเดือน
ดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง Shopify และ WooCommerce
6. PrestaShop
PrestaShop เป็นแพลตฟอร์มเจ้าใหม่สำหรับธุรกิจออนไลน์ ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซเจ้านี้จะเรียบๆ แต่มีความยืดหยุ่น จึงทำให้ผู้ขายสามารถออกแบบร้านค้าได้ตามต้องการ
ฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซพื้นฐาน เช่น รถเข็นและการชำระเงิน มีให้บริการใน PrestaShop เวอร์ชันฟรี อย่างไรก็ตาม คุณจะต้องหาผู้ให้บริการโฮสต์เอง
ส่วนเวอร์ชันแบบชำระเงินนั้นมาพร้อมกับผู้ให้บริการโฮสต์ การติดตั้งร้านค้า และการสนับสนุนจากนักพัฒนา
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: 14 วัน
ราคา: ฟรี
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้
ฟีเจอร์แอปมือถือ: ไม่มี
ระบบขายหน้าร้าน: สามารถผสานการทำงานกับผู้ให้บริการภายนอกได้
7. Squarespace
Squarespace เครื่องมือสร้างเว็บไซต์แบบลากและวาง มีอินเทอร์เฟซและฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซที่ใช้งานง่าย
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่แพลตฟอร์มการสร้างเว็บไซต์ มากกว่าจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ จึงมีเครื่องมือไม่ครบ เช่น มีการผสานการทำงานกับระบบชำระเงินเพียง 2 แบบ เป็นต้น
หนึ่งในข้อดีของ Squarespace คือฟีเจอร์การติดตามสต๊อก คุณยังสามารถอัปเกรดแผนเพื่อขายผลิตภัณฑ์แบบเหมาจ่ายล่วงหน้าได้
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: 14 วัน
ราคา: 28–52 ดอลลาร์ต่อเดือน (690-1,800 บาท) สำหรับแผนพาณิชย์ ขึ้นอยู่กับฟีเจอร์ที่มี
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: มี
💡 เพิ่มปุ่มซื้อของ Shopify ลงในเว็บไซต์ Squarespace ของคุณในราคา 5 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 170 บาท)
ดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง Shopify และ Squarespace
8. GoDaddy
GoDaddy เป็นผู้ขายโดเมนที่มีชื่อเสียง ซึ่งขายเครื่องมือสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซด้วย GoDaddy จะใช้เอไอเพื่อให้การออกแบบเว็บไซต์รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลที่คุณกรอกเพื่อสร้างเว็บไซต์แบบปรับแต่งเอง
แม้ว่าคุณจะสามารถเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อใช้ GoDaddy แต่คุณก็สามารถขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มนั้นได้ในจำนวนจำกัด ดังนั้นถ้าคุณต้องการขยายร้านค้าของคุณ GoDaddy อาจไม่ใช่ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่เหมาะที่สุด
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: 30 วัน
ราคา: 11.99–20.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 415-726 บาท) ขึ้นอยู่กับฟีเจอร์ที่มี
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: มี
ดูข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง Shopify และ GoDaddy
9. Volusion
Volusion เป็นซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซอีกเจ้าหนึ่งที่เริ่มมาจากการเป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์พื้นฐาน ก่อนจะขยายฟังก์ชั่นการทำงานเพื่อรองรับการขายออนไลน์ แม้ว่าคุณจะต้องลงทะเบียนและซื้อชื่อโดเมนผ่านผู้ให้บริการภายนอก แต่ Volusion ก็รวมบริการโฮสต์เว็บไซต์เอาไว้ในตัวด้วย
Volusion มีฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซพื้นฐาน เช่น การประมวลผลคำสั่งซื้อ การเรียกเก็บเงินซ้ำ การติดตามสต๊อก และการโปรโมทผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งคุณยังสามารถสร้างและจัดการบัญชีลูกค้าและเพิ่มภาษีได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ตัวเลือกการปรับแต่งก็มีจำกัดโดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนเทมเพลตของเว็บไซต์ และเมื่อผู้ขายเติบโตถึงจุดหนึ่ง พวกเขาอาจต้องการอัปเกรดไปยังแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีเครื่องมือที่หลากหลายขึ้น
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: 14 วัน
ราคา: 29–299 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 1,000-10,000 บาท) ขึ้นอยู่กับฟีเจอร์ที่มี
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้ ผ่านส่วนขยาย
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี ผ่านส่วนขยาย
ระบบขายหน้าร้าน: มี
10. Amazon
ในขณะที่ Amazon เป็นตลาดจากผู้ให้บริการภายนอกที่มีชื่อเสียงที่สุดสำหรับการโปรโมทและขายผลิตภัณฑ์ ทั้งยังอนุญาตให้ผู้ขายสร้างร้านค้าใน Amazon ได้ ทำให้บริษัทอีคอมเมิร์ซต่างๆ มีผู้เข้าชมนับล้านจากทั่วโลก แม้ว่า Amazon จะควบคุมเนื้อหาของคุณและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายแต่ละครั้งก็ตาม
การสร้างร้านค้า Amazon เป็นวิธีที่ดีสำหรับการเสริมช่องทางการขายเพิ่มเติมจากที่คุณมีอยู่เดิม
เมื่อคุณเข้าถึงลูกค้าหน้าใหม่ๆ และสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้แล้ว นักช้อปก็จะย้ายไปที่ร้านค้าออนไลน์ของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับ Amazon
ระยะเวลาทดลองใช้งานฟรี: ไม่มีการทดลองใช้งานฟรี
ราคา: 39.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 1,300 บาท) บวกค่าธรรมเนียมการแนะนำเพิ่มเติม
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: ไม่มี
11. Shift4Shop
Shift4Shop หรือในชื่อเดิมว่า 3dcart นำเสนอซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซฟรีสำหรับธุรกิจที่มียอดขายขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 17,300 บาท) ผ่านเครื่องมือชำระเงินของ Shift4Shop สำหรับผู้ขายที่มียอดขายน้อยกว่านี้หรือต้องการใช้ระบบประมวลผลการชำระเงินของ PayPal ก็จะต้องจ่าย 29 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 1,000 บาท)
Shift4Shop ไม่มีฟังก์ชั่นการทำงานสำหรับอีคอมเมิร์ซมากนัก แต่คุณสามารถตั้งร้านค้าออนไลน์สำหรับธุรกิจของคุณได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เทมเพลตของเว็บไซต์ที่ให้เลือกมากมาย และคุณสามารถใช้ API ของ Shift4Shop เพื่อผสานการทำงานของร้านค้าเข้ากับแอปจากผู้ให้บริการภายนอกได้ด้วย
ราคา: ฟรี สำหรับธุรกิจที่มียอดขายขั้นต่ำ 500 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 17,000 บาท) ผ่านระบบประมวลผลการชำระเงิน Shift4 หรือ 29 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 1,000 บาท) โดยใช้ระบบการประมวลผลของ PayPal
ผสานการทำงานกับช่องทางการขายต่างๆ: ได้
ฟีเจอร์แอปมือถือ: มี
ระบบขายหน้าร้าน: สามารถผสานการทำงานกับผู้ให้บริการภายนอกได้
ฟีเจอร์ที่ควรมองหาในโซลูชันอีคอมเมิร์ซ
ราคา
คุณสามารถใช้ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซเพื่อเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์โดยใช้ทุนน้อยมากหรือไม่ต้องใช้เลย แต่ค่าใช้จ่ายต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเริ่มขายสินค้าได้ หรือทำการตลาด และต้องการฟีเจอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น
จากการวิเคราะห์ของ Shopify ธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ใช้จ่ายประมาณ 40,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.3 ล้านบาท) ในปีแรก โดย 9% ของค่าใช้จ่ายจะไปอยู่ที่การทำร้านค้าออนไลน์
ในปีแรก ผู้ขายใน Shopify มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 38,000 ดอลลาร์ ขณะที่ผู้ขายอื่นๆ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 41,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.41 ล้านบาท) ดังภาพ
ค่าใช้จ่ายในปีแรกมักจะมาจากการควักเนื้อ ทำให้การตัดสินใจด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
การสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ดังนั้นคุณควรเลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ไม่ผลาญทุนของคุณจนหมด ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการขยายธุรกิจของคุณให้ได้ คุณต้องพิจารณาค่าธรรมเนียมรายเดือนและค่าธรรมเนียมช่องทางการชำระเงินที่คุณจะต้องจ่ายสำหรับแต่ละธุรกรรมด้วย
แม้ซอฟต์แวร์ที่ราคาถูกที่สุดจะดูน่าใช้ แต่คุณมีต้องมองหลายๆ มุมมากกว่าแค่ราคา แทนที่จะโฟกัสไปที่จุดที่ธุรกิจของคุณเป็นอยู่ในขณะนี้ คุณต้องโฟกัสไปที่การดำเนินงานในอนาคตและหาซอฟต์แวร์ที่สามารถเติบโตไปพร้อมกับคุณได้ด้วย
ความสามารถในการปรับขนาดและการใช้งาน
สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของคุณต้องตรงกับทักษะทางเทคนิคของคุณ
ถ้าคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ คุณอาจกำลังมองหาซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซแบบโอเพนซอร์ส เพื่อให้สามารถควบคุมเว็บไซต์ของคุณได้อย่างเต็มที่ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายคือสิ่งที่สำคัญที่สุด
คุณควรนัดชมการสาธิตซอฟต์แวร์ หรือเริ่มทดลองใช้งานฟรี เพื่อให้คุณแน่ใจได้ว่าการเรียนรู้วิธีใช้ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้ยากจนเกินไป
นอกจากนี้ คุณยังต้องพิจารณาว่าซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของคุณจะผสานการทำงานร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่ซับซ้อนๆ ในธุรกิจของคุณไ้ด้อย่างไร เช่น การจัดการสต๊อกและการทำบัญชี
เมื่อคุณกำลังเลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ คุณต้องเลือกดูเครื่องมือการจัดการธุรกิจที่ได้รับเสียงรีวิวในเชิงบวก ควบคู่ไปกับการเลือกดูฟีเจอร์สำหรับการสร้างร้านค้า เพราะสิ่งนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการโยกย้ายข้อมูลเมื่อคุณขยายการดำเนินการ
สมมติว่าคุณวางแผนจะขยายร้านออฟไลน์ของตัวเอง คุณจะต้องการซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่มาพร้อมส่วนเสริม ปลั๊กอิน และการผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้คุณสามารถใช้ฟีเจอร์การขายแบบออฟไลน์ได้ เช่น Shopify POS
💡 Shopify POS จะซิงค์ข้อมูลสินค้าคงคลังและยอดขายของคุณให้ทันที ดังนั้นข้อมูลของคุณจะเป็นข้อมูลล่าสุดอยู่เสมอ
การชำระเงินที่ราบรื่น
การชำระเงินที่ไม่มีอุปสรรคจะสร้างความแตกต่างให้กับอัตราคอนเวอร์ชันของคุณได้มากเลยทีเดียว ในฐานะผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ หนึ่งในสิ่งที่ธุรกิจของคุณควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ คือประสบการณ์การชำระเงินที่ง่ายและปลอดภัยสำหรับผู้ซื้อ
ตัวอย่างฟีเจอร์การชำระเงินที่ควรใช้ก็คือตัวเลือกการชำระเงินที่คนจำนวนมากคุ้นเคยดี เช่น Google Wallet และ PayPal รวมถึงความสามารถในการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้งานในอนาคตด้วย
ถ้าคุณใช้ Shopify อยู่ Shop Pay นั้นสามารถเพิ่มความเร็วในการชำระเงินได้ถึง 4 เท่า คุณยังสามารถผสานการทำงานของ Shopify กับช่องทางการชำระเงินกว่า 100 ช่องทางเพื่อรองรับวิธีการชำระเงินและสกุลเงินที่หลากหลาย
การปรับแต่ง
ร้านค้าอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่มักมีฟีเจอรฺที่คล้ายๆ กัน เช่น หน้ารายละเอียดผลิตภัณฑ์และรถเข็นช้อปปิ้ง แต่สำหรับฟังก์ชั่นที่ซับซ้อนมากขึ้นและหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ คุณควรค้นหาซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่มีตัวเลือกการปรับแต่ง
ให้มองหาแพลตฟอร์มที่นอกจากจะมีเทมเพลตและธีมให้เลือกมากมายแล้ว ยังอนุญาตให้ปรับแต่งได้ลึกขึ้นด้วย เช่น ให้คุณสามารถเปลี่ยนสี ฟอนต์ และเลย์เอาต์ หรือแม้กระทั่งเขียนโค้ดเองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในขั้นที่สูงขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น Shopify ซึ่งมีธีมที่ปรับแต่งได้เพื่อให้ร้านค้าของแบรนด์มีหน้าตาที่ดีไซน์มาระดับมืออาชีพ เจ้าของร้านค้าที่มีทักษะในเชิงเทคนิคก็สามารถสร้างเทมเพลตของตัวเองโดยใช้ Liquid ซึ่งเป็นภาษาเขียนเทมเพลงแบบโอเพนซอร์ส และเพื่อให้คุณสามารถควบคุมได้เองอย่างเต็มที่ คุณสามารถ แยกส่วนหน้าร้านของคุณออกจากซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของ Shopify ได้ด้วย
การผสานการทำงานกับเครื่องมืออื่นๆ
หากซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของคุณไม่สามารถเชื่อมต่อกับบริการอื่นได้ง่ายๆ ธุรกิจของคุณก็จะถูกจำกัดอยู่แค่ฟีเจอร์และช่องทางที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์ที่คุณใช้ ซึ่งก็อาจจะไม่เป็นไรถ้าคุณเพิ่งเปิดร้านได้ไม่นาน แต่เมื่อร้านของคุณโตขึ้น คุณก็น่าจะจำเป็นต้องเอาเครื่องมือจากผู้ให้บริการภายนอกมาใช้ด้วย
ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการเชื่อมต่อร้านค้าของคุณกับตลาดต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถซิงค์ยอดขายและสินค้าคงคลังบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Amazon และ eBay ได้ หรือคุณอาจต้องการเพิ่มแชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อตอบคำถามของผู้ซื้อแบบสดๆ ระหว่างที่พวกเขาเข้าไปดูเว็บไซต์ของคุณ
เพื่อให้ตอบโจทย์การผสานการทำงานเหล่านี้ ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซดังๆ ก็จะมีร้านค้าสำหรับแอป เอาไว้ให้นักพัฒนาสามารถสร้างและขายฟีเจอร์ผสานการทำงานต่างๆ อย่างเป็นทางการได้ Shopify นั้นสามารถผสานการทำงานกับแอปได้มากกว่า 8,000 แอปใน App Store ของ Shopify คุณจึงสามารถเชื่อมต่อร้านค้าของคุณกับเครื่องมือชั้นนำได้ง่ายๆ
ฟีเจอร์การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ ในเครื่องมือค้นหา
การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ ในเครื่องมือค้นหา (SEO) จะช่วยดึงดูดยอดการเข้าชมร้านค้าแบบออร์แกนิก เมื่อร้านค้าออนไลน์ของคุณได้รับการปรับให้เหมาะสำหรับการค้นหาแล้ว ร้านค้าของคุณก็จะปรากฏในหน้าผลการค้นหาบ่อยขึ้น ซึ่งจะทำให้ยอดการเข้าชมและการมองเห็นสูงขึ้นนั่นเอง
นอกเหนือจากคีย์เวิร์ดและ Metadata แล้ว เครื่องมือค้นหาต่างๆ ยังพิจารณาว่าหัวข้อหนึ่งๆ นั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เว็บไซต์ของคุณเชี่ยวชาญมากเท่าไหร่ด้วย อัลกอริธึมของ Google จะตัดสินว่าเนื้อหาของคุณมีความน่าเชื่อถือเพียงใด โดยตรวจสอบว่ามีใครเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บของคุณบ้าง
ในการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาของคุณ ให้เลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่มีฟีเจอร์ SEO เช่น ความสามารถในการจัดการ Metadata การเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ และการบีบอัดภาพ
ตัวอย่างเช่น ในซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซของ Shopify จะมี WebP ของ Google มาให้ในตัว เพื่อให้สามารถโหลดภาพได้เร็วขึ้น 30%
การโฮสต์เว็บไซต์
การโฮสต์เว็บไซต์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาเว็บไซต์ โฮสต์จะเก็บข้อมูลและเนื้อหาจากเว็บไซต์ของคุณในฐานข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ที่สาธารณะสามารถเข้าถึงได้ เว็บไซต์ทุกเว็บจะถูกโฮสต์อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโฮสต์เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์อีคอมมเมิร์ซบางเจ้าก็มาพร้อมบริการโฮสต์เว็บไซต์ในตัว ในขณะที่บางซอฟต์แวร์ก็ต้องอาศัยโซลูชันภายนอก
ถ้าคุณใช้ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่อยู่บนแพลตฟอร์มที่มีโฮสต์อยู่แล้ว โซลูชันของคุณจะง่าย คุณไม่จำเป็นต้องค้นหาโซลูชันของผู้ให้บริการภายนอกหรือจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมใดๆ และถ้าคุณใช้ Shopify บริการโฮสต์เว็บไซต์นั้นมีให้ใช้บริการฟรีสำหรับทุกแผนอยู่แล้ว
การขายหลายช่องทาง
เส้นแบ่งระหว่างการขายออฟไลน์และการค้าออนไลน์กำลังเลือนลงไปเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้แม้แต่ร้านค้าเล็กๆ ธรรมดาๆ ก็มีการขายหลายช่องทางเช่นกัน คุณต้องการซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้คุณขายสินค้าได้ทั้งบนโซเชียลมีเดียต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ และร้านค้าจริงๆ แทนที่จะจำกัดคุณไว้กับช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
Shopify ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการสำหรับธุรกิจ โดยจะซิงค์ข้อมูลการขายออนไลน์และออฟไลน์ให้คุณแบบเรียลไทม์ คุณสามารถโปรโมทและขายสินค้าได้ในหลายช่องทางที่อยู่ใน Shopify รวมถึงการขายส่ง และตลาดของผู้ให้บริการภายนอก เช่น Amazon ด้วย
บริการช่วยเหลือลูกค้า
ไม่ว่าซอฟต์แวร์การค้าของคุณจะดีแค่ไหน คุณก็จะต้องขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างฟีเจอร์ใหม่สำหรับร้านค้าออนไลน์บ้างเป็นครั้งคราว และนั่นคือเหตุผลที่การเลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่มีบริการช่วยเหลือลูกค้าที่ยอดเยี่ยมเป็นความคิดที่ดี
คุณควรมองหาผู้ให้บริการที่มีบริการช่วยเหลือหลายช่องเทาง เช่น โทรศัพท์ อีเมล และไลฟ์แชท นอกจากนี้ให้พิจารณาคุณภาพของแหล่งข้อมูลในการช่วยเหลือตนเองด้วย เช่น ฐานข้อมูลความรู้และบทแนะนำการใช้งาน กระดานสนทนาของชุมชนที่มีการใช้งานอยู่เรื่อยๆ ก็สามารถเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีได้เช่นกัน
ทำไมร้านค้าออนไลน์จึงต้องการซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซเป็นกำลังหลักของร้านค้าออนไลน์ทุกร้าน เรียกได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนธุรกิจของคุณ เพื่อให้คุณสามารถจัดการสินค้า รับชำระเงิน และติดตามคำสั่งซื้อได้
มาดูเหตุผลว่าทำไมร้านค้าออนลไน์ของคุณถึงต้องมีซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซกัน
ตั้งร้านได้ง่ายๆ
เจ้าของร้านค้าส่วนใหญ่นั้นไม่สนใจที่จะเขียนโค้ดเพื่อสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจึงนำเสนอวิธีสร้างและดูแลร้านค้าออนไลน์ในแบบที่คุณไม่ต้องเขียนโค้ด ด้วยอินเทอร์เฟซที่เข้าใจง่ายและฟังก์ชั่นการลากและวาง คุณจึงสามารถออกแบบร้านค้า เพิ่มผลิตภัณฑ์ และตั้งค่าตัวเลือกการชำระเงินได้เลย โดยไม่ต้องใช้ความรู้คอมพิวเตอร์ขั้นสูง
และทั้งหมดนี้ก็หมายความว่าคุณสามารถสร้างร้านค้าอีคอมเมิร์ซของตัวเองให้สามารถเปิดบริการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องจ้างอะไรเพิ่มเติมเลย
การประมวลผลการชำระเงิน
นักพัฒนาซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซลงทุนหลายล้านดอลลาร์ในการสร้างประสบการณ์การชำระเงินที่มีคอนเวอร์ชันสูง การใช้ผู้ประมวลผลการชำระเงินเหล่านี้ทำให้ลูกค้าของคุณมีโอกาสที่จะชำระเงินสำเร็จและไม่มีตะกร้าสินค้าที่ยังไม่ชำระเงิน
ระบบประมวลผลการชำระเงินของซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซยังช่วยให้ลูกค้าสามารถชำระเงินโดยใช้ตัวเลือกที่หลากหลาย และช่วยรักษาข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นข้อดีที่ทำให้แบรนด์ของคุณดูน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อขายออนไลน์
การจัดการคำสั่งซื้อ
การจัดการคำสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความพึงพอใจของลูกค้า
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซจะช่วยให้คุณติดตามคำสั่งซื้อได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการจัดส่ง โดยให้ข้อมูลอัปเดตแก่ลูกค้าตลอดทาง
ด้วยมีการจัดการคำสั่งซื้ออัตโนมัติ คุณจึงสามารถตรวจสอบระดับสต๊อก และจัดการการคืนสินค้าได้ง่ายขึ้น
การเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์ลูกค้า
การใช้ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซสร้างร้านค้าออนไลน์ของคุณนั้น ทำให้คุณสามารถสร้างประสบการณ์การเลือกซื้อสินค้าอันน่าประทับใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ธีมที่ออกแบบอย่างมืออาชีพและระบบหลังบ้านที่ออกแบบมาอย่างดี จะทำให้ร้านค้ามีการนำทางที่ง่ายขึ้น โหลดได้อย่างรวดเร็ว และชำระเงินได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าคุณจะช้อปปิ้งบนคอมพิวเตอร์หรือมือถือ
นอกเหนือจากการปรับปรุงประสบการณ์การช้อปปิ้งแล้ว เว็บไซต์ที่ให้ความรู้สึกพรีเมียมยังช่วยสร้างมอบความเป็นมืออาชีพและคุณภาพให้กับแบรนด์ของคุณอีกด้วย
การวิเคราะห์และรายงาน
การทำความเข้าใจลูกค้าและพฤติกรรมของลูกค้าจะช่วยให้ร้านค้าของคุณเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่มีเครื่องมือวิเคราะห์และรายงานในตัว ที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม แนวโน้มการขาย และอื่นๆ
ความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ในโลกของอีคอมเมิร์ซ ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ลูกค้าต้องรู้สึกว่าข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาปลอดภัยเมื่อช้อปปิ้งในเว็บไซต์ของคุณ
การใช้ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมจึงเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ร้านค้าของคุณมีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยและกฎระเบียบล่าสุด เช่น PCI DSS (มาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลในวงการธุรกิจบัตรชำระเงิน)
เข้าถึงฐานลูกค้าทั่วโลก
สำหรับร้านค้าจริงในโลกออฟไลน์ ยอดการเข้าถึงมักจะถูกกำหนดด้วยสถานที่ที่ร้านค้านั้นตั้งอยู่ แต่เมื่อคุณย้ายมาโลกออนไลน์โดยใช้ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ คุณก็จะสามารถขายสินค้าได้ทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่มาพร้อมฟีเจอร์สำหรับการเพิ่มยอดขายระหว่างประเทศ เช่น บริการช่วยเหลือในหลายภาษา การแปลงสกุลเงิน และการรองรับการจัดส่งระหว่างประเทศ
เริ่มขายออนไลน์กับ Shopify
ตอนที่คุณเลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ อย่าลืมคำนึงถึงความต้องการในปัจจุบันและในอนาคตของคุณ
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมไม่ใช่แค่เครื่องมือสร้างร้านค้า แต่ควรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนทั้งธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะในตอนนี้หรือเมื่อธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นด้วย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซเจ้าไหนดีที่สุด
Shopify เป็นซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด เพราะมีเครื่องมือมากมายจะช่วยคุณในการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ และทำให้การชำระเงินราบรื่น พร้อมบริการช่วยเหลือลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และความยืดหยุ่นในการเติบโตไปพร้อมๆ กับธุรกิจของคุณ
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซประเภทหลักๆ มีอะไรบ้าง
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ซอฟต์แวร์เป็นบริการ (SaaS) แพลตฟอร์มเป็นบริการ (PaaS) และแพลตฟอร์มที่ติดตั้งในระบบของตัวเอง (On-premise) ซอฟต์แวร์ SaaS เป็นโมเดลที่ใช้การสมัครสมาชิก ซอฟต์แวร์จะถูกโฮสต์อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการภายนอกและเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ส่วน PaaS จะมาพร้อมสภาพแวดล้อมที่นักพัฒนาสามารถสร้างแอปและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนแพลตฟอร์มที่ติดตั้งในระบบของตัวเองก็จะติดตั้งและรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซมีลักษณะอย่างไร
ซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซจะเชื่อมต่อระบบออนไลน์หลังบ้านทั้งหมด เพื่อให้คุณสามารถโปรโปทเว็บไซต์ ขายสินค้า และจัดการคำสั่งซื้อได้
จะสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซได้อย่างไร
เลือกซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซจากลิสต์ในบทความนี้ ลงทะเบียนบัญชี จากนั้นก็ออกแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ ปรับแต่งหน้าตาเว็บไซต์ เพิ่มสินค้า แล้วก็ตั้งค่าระบบหลังบ้านสำหรับการชำระเงินและการจัดการคำสั่งซื้อ